ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

Main Article Content

เมธี สุทธศิลป์
วลัยลักษณ์ พันธุรี
ศศิวรรณ ส่งต่าย

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ประเทศไทยมีปัญหาสุขภาพจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  (อสม) มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยโดยการสื่อสาร สร้างสุขภาพเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนนำไปสู่การพัฒนาการดูแลสุขภาพของตนเองของประชาชนครอบครัวและชุมชน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของอสม. ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก


วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม.ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตากที่มีอายุ 18-60 ปี จำนวน 143 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามชนิดถามตอบด้วยตนเองระหว่างพฤษภาคม 2564 ถึงมิถุนายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการศึกษา : อสม.มีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพมีความรู้ระดับมาก ร้อยละ 97.20 ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 44.80 และความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของอสม.ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.90 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของอสม.อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ สถานภาพสมรส ระยะเวลาที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาชีพ และ ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ (r= 0.259; p<0.002, r= 0.162; p=0.050, r= -0.379; p<0.001, และ r= -0.379, p<0.001 ตามลำดับ) ในขณะที่ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของ อสม. การศึกษา และรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


สรุปและข้อเสนอแนะ : อาชีพ และทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของอสม. เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังหินและหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ควรมีแนวทางการบริหารจัดการด้านอาชีพ และทัศนคติ ต่อการส่งเสริมสุขภาพของอสม.ซึ่งอาจส่งผลให้การส่งเสริมสุขภาพของอสม. มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Department of Health Service Support. Public health volunteer rehabilitation training course. Nonthaburi: Kurusapa Printing Ladphrao; 2019.

National Statistical Office. Survey of health status of Thai people by physical examination year 2020. Bangkok: Copies; 2020.

Department of Health Service Support. Report of high blood pressure, heart disease and diabetes, which has a 3-year morbidity rate, 2016-2019. Nonthaburi: Kurusapa Printing Ladphrao; 2020.

Statistics of people receiving services at Wang Hin subdistrict health promoting hospital. Tak: Wang Hin Health Promoting Hospital; 2020.

Daniel WW. Determination of sample size for estimating propositions. In: Daniel WW, editor. Biostatistics: a foundation for analysis in the health science. New York: John Wiley & Sons; 2010

Bloom B. Taxonomy of educational objectives: the classification of educational goals / handbook II: affective domain. New York: David Makay; 1975.

Chimphet S. A study of the roles and duties of village health volunteers in Lamphun province in promoting health in the community [master’s thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2017.

Radarit C. Participation of village health volunteers in the operation of cervical cancer screening in Sichon sub-district, Sichon district, Nakhon Si Thammarat province. [master’s thesis]. Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University; 2016.

Wattanacheep P. Participation of village public health volunteers in rehabilitation of persons with disabilities in La-ngu district, Satun province. Journal of Community Public Health,2017; (3): 88-98.