ศึกษาเปรียบเทียบความสำเร็จในครั้งแรกของการใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างการใส่แบบไม่ใช้ยานำสลบ การใช้ยานำสลบเพียงอย่างเดียว และการใส่ท่อช่วยหายใจแบบรวดเร็วในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : การใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นหัตถการสำคัญ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวในห้องฉุกเฉิน วิธีการใส่ท่อช่วยหายใจมีหลายรูปแบบ ซึ่งอาจพิจารณาตามลักษณะโรคของผู้ป่วย และความชำนาญของผู้ปฎิบัติ โดยแต่ละวิธีมีข้อดี ข้อเสียต่างกัน
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสำเร็จในครั้งแรกของการใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างการใส่แบบไม่ใช้ยานำสลบ การใช้ยานำสลบเพียงอย่างเดียว และการใส่แบบรวดเร็ว
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาชนิด efficacy research รูปแบบ retrospective observational study
เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูล ศึกษาในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลพะเยา ตั้งแต่
1 กันยายน พ.ศ. 2563 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ใส่ท่อช่วยหายใจแบบไม่ใช้ยานำสลบ
จำนวน 69 ราย แบบใช้ยานำสลบอย่างเดียว จำนวน 86 ราย และแบบรวดเร็ว จำนวน 28 ราย รวมทั้งหมด 183 ราย รวบรวมลักษณะข้อมูลทั่วไป ลักษณะการใส่ท่อช่วยหายใจ ระดับผู้ทำหัตถการ จากแฟ้มประวัติผู้ป่วยวัดความสำเร็จในครั้งแรกของการใส่ท่อช่วยหายใจ และภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจแบบต่าง ๆ แสดงผลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะทั่วไป โดยใช้ Chi Square Test และ
two-way analysis of variance เปรียบเทียบความสำเร็จในครั้งแรกของการใส่ท่อช่วยหายใจ และภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจแบบต่าง ๆ โดยควบคุมตัวแปรสาเหตุการใส่ท่อช่วยหายใจ ลักษณะการใส่ท่อช่วยหายใจ
ที่ยาก และระดับผู้ทำหัตถการที่แตกต่างกัน ด้วย multivariable logistic regression
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเข้าสู่การศึกษาทั้งหมด 183 ราย ลักษณะทั่วไป เพศ อายุ เวรผลัดที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ระดับกล่องเสียงของผู้ป่วยทั้งสามกลุ่มไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสาเหตุการใส่ท่อช่วยหายใจ ลักษณะการใส่ท่อช่วยหายใจที่ยาก และระดับผู้ทำหัตถการ มีความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบความสำเร็จในครั้งแรกของการใส่ท่อช่วยหายใจพบว่าทั้งสามกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
โดยการใส่แบบรวดเร็ว (RSI) แบบไม่ใช้ยา และแบบใช้ยานำสลบอย่างเดียว มีความสำเร็จร้อยละ 85.71, 81.16 และ 59.30 ตามลำดับ (p=0.003) ผลด้านการนำส่งผู้ป่วยออกจากห้องฉุกเฉิน พบว่าทั้งสามกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) เมื่อเปรียบเทียบโดยควบคุมตัวแปรที่แตกต่างกัน ด้วย multivariable logistic regression พบว่าการใส่ท่อช่วยหายใจโดยวิธี RSI มีการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จในครั้งแรกเพิ่มขึ้น 1.61 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่แบบไม่ใช้ยานำสลบแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI 0.44 - 5.80; p=0.464) ส่วนการใส่แบบใช้ยานำสลบอย่างเดียวจะทำให้การใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จลดลง 0.33 เท่า (95%CI 0.14 - 0.72; p=0.006)
สรุปและข้อเสนอแนะ : การใส่ท่อช่วยหายใจแบบรวดเร็ว ส่งผลดีต่อผู้ป่วยมากที่สุด ในด้านความปลอดภัย
ความรวดเร็ว และผลข้างเคียงต่างๆ แต่ยังคงมีข้อจำกัด การใส่ท่อช่วยหายใจแบบอื่นเป็นที่แพร่หลายและสะดวกกับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปมากกว่า จึงควรมีการพัฒนาแนวทางเพื่อความปลอดภัยและเหมาะสมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Tintinalli JE,Ma OJ,Yealy D,Mecker G,Stapczynski J,Cline D,et al. Tintinalli's emergency medicine.9th ed. New York: McGraw-Hill Medical;2012.
American College of Surgeons. Committee Trauma. Advanced trauma life support: student course manual. 10th ed. Illinois: American College of Surgeons; 2018.
Boonsiri C, Sunthontum S. Corse workshop for advance resuscitative procedures. Thai College of Emergenct Physicians. Bangkok; 2020.
Rosen P, Marx JA, Hockberger RS, Walls RM. Rosen's emergency medicine: concepts and clinical practice. 6th ed. Missouri: Mosby; 2005.
Trakulsrichai S, Chalermdamrichai P, Palasatien I, Rattanasiri S, Chatchaipun P, Hathirat S. An Observation Study of Rapid Sequence, awake and sedation-only intubations in an emergency department in Thai patients. J Med Assoc Thai. 2009; 92(8): 022-7.
Merelman AH, Perlmutter MC, Strayer RJ. Alternatives to Rapid Sequence Intubation: Contemporary Airway Management with Ketamine. West J Emerg Med. 2019;20(3):466-71
Sujinpram C. First-pass Intubation successful with rapid sequence intubation versus conventional endotracheal intubation in the emergency department. Medical journal of Srisaket Surin Buriram hospitals.2020;35(3):729-38.
Heffner AC, Swords DS, Neale MN, Jones AE. Incidence and factors associated with cardiac arrest complicating emergency airway management. Resuscitation. 2013;84(11):1500-4.
De Jong A, Rolle A, Molinari N, Paugam-Burtz C, Constantin JM, Lefrant JY, et al. Cardiac arrest and mortality related to intubation procedure in critically ill adult patients: a multicenter cohort study. Crit Care Med. 2018;46(4):532-9.
Robert JR, Hedges J. Clinical Procedures in emergency medicine.6th ed. Pennsylvania: Elsevier Saunders;2014.
Chanthawong S, Chau-in W. Prospective study of tracheal intubation and immediate complications in the emergency room in Srinagarind Hospital. Srinagarind Med J.2015;30(3):256-61.
Hedigard S. The initial study of rapid sequence intubation (RSI) in the emergency room, Phrae Hospital. Journal of Phrae Hospital. 2011;19(1):103-14.
Sakles JC, Laurin EG, Rantapaa AA, Panacek EA. Airway management in the emergency department: a one-year study of 610 tracheal intubations. Ann Emerg Med. 1998;31(3):325-32.
Marin J, Davison D, Pourmand A. Emergent endotracheal intubation associated cardiac arrest, risks, and emergency implications. J Anesth. 2019;33(3):454-62.