ผลลัพธ์ในการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยแอปพลิเคชั่นไลน์

Main Article Content

ทรงวุฒิ สารจันทึก
ลือรัตน์ อนุรัตน์พาณิช

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : สถานการณ์โควิด-19 (COVID-19) ส่งผลทำให้เกิดข้อจำกัดในการติดตามผลการรักษาผู้ป่วย ดังนั้นรูปแบบการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยจึงทดลองใช้การติดตามผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยแอปพลิเคชั่นไลน์


วัตถุประสงค์ : เพื่อติดตามผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยแอปพลิเคชั่นไลน์


วิธีการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi – experimental research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน
ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถติดตามและประเมินผลการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยแอปพลิเคชั่นไลน์ได้ จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการติดตามตามนัดหมายปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยทดสอบความน่าเชื่อถือได้เท่ากับ 0.823


ผลการศึกษา : ด้านความรู้เรื่องการดูแลตัวเองเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของทั้งสองกลุ่มหลังการทดลองมีระดับความรู้ระดับมากทั้งหมด ด้านคะแนนความพึงพอใจจากคำแนะนำจากเภสัชกรร่วมกับการติดตามการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2  มีคะแนนดีขึ้นทั้งสองกลุ่ม เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2  ก่อนและหลังได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร ร่วมกับการติดตามการรักษาทางแอปพลิเคชั่นไลน์ในกลุ่มทดลองค่า total cholesterol, LDL cholesterol และ HbA1C มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติในกลุ่มควบคุม


สรุปและข้อเสนอแนะ : การให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วยให้ประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น และการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ประกอบช่วยให้ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น จึงควรสนับสนุนให้มีการดำเนินงาน และส่งเสริมให้มีการติดตามผลด้วยแอปพลิเคชั่นไลน์ เนื่องจากสะดวก ปลอดภัย และประหยัดต้นทุนการดำเนินงาน อีกทั้งเป็นวิธีที่เหมาะกับสถานการณ์การระบาดโควิด 19

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Ningsanon T. 24th Anniversary of the Association of Hospital Pharmacy (Thailand). Bangkok: The Association of Hospital Pharmacy (Thailand); 2021. (in Thai)

Thawonwattanayong W, Geesittisomboom W, Jansuriyakul W, Srinaunrod K, Janpen S. Survey of leftover drugs and drug use behavior among patients with chronic diseases in Nong Pak Loug, Mueang, Nakhon Pathom. Journal of Health Science.2012; 21(6):1140-8. (in Thai)

The COVID-19 Emergency Operation Centre (COVID-19 EOC) [Internet]. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2020 [cited 2020 May 1]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

Sanchanthuek S. Pharmacist: professional roles against COVID-19. [internet ].2020[2020 May 27]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2020/05/19430?fbclid=IwAR2wYTgCtA7hpJFYKZuWNMsK8nIXnZT91Ybz0LlDplZvhDe4fLhRldtTw8M

Phimprasert. S. Everybody can enjoy LINE application: chatting, sharing and selling. Bangkok: Pro Vision;2014. (in Thai)

Prasert C. Usage behavior of LINE Application and self-erception and relations hit with O(in Thai) thers among the Thai Elderly.[master’thsis].[Bangkok]:Chulalongkorn University; 2014.

Chaisiriphan P, Thongchan T. Diet planning application for diabetic patients. Hat Yai National Academic Symposium #6 on 26 June 2015 Hat Yai University; 2015. (in Thai)

Kulati Y, Phongthanu P, Sakulrasisuai C. Mobile application for diabetic patient care: case study of behavior in Thailand. Sripatum Review of Science and Technology.2019; (11):7-22. (in Thai)

Bunchert C, Pharm B. Follow-up for disabled, bedridden, cancer patients and primary pharmaceutical care by using the LINE application in Kut Chum district, Yasothon province. Journal of Health Science.2018; 27(5):920-6. (in Thai)

HDC. HDC dashboard [Internet]. Ministry of Public Health; 2014 [cited 2020 May 1]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd.

Wanibancha K. Application of SPSS for windows for data analysis.20th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2012.

Sutthirit S, Pinchaliao D, Ketkomon T. Effectiveness of self-regulation programme in association with LINE application by village public health volunteers with weight beyond standard body weight, Tha Rong Chang sub-district, Surat Thani province. Journal of the Police Nurses.2018; 10(2):330-9. (in Thai).

Thianthai C. Impacts of social media on Thai social and cultural changes. [internet].2020 [cited 2020 March 15]. Available from: https://www.ryt9.com/s/prg/3103058

Javanicha W, Chowwanapoonpohn H. Perception, awareness and behavior toward social networks use in pharmacy services among hospital pharmacists under the jurisdiction of the Ministry of Public Health in the Upper north of Thailand. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences.2018; 13(2): 99-115.