ประสิทธิผลของการจัดการอาการปวดหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาระหว่างเส้นเลือดแดงขาพับกับแคปซูลด้านหลังข้อเข่าร่วมกับฉีดยาชาที่เส้นประสาท femoral เทียบกับวิธีการฉีดยาชาที่เส้นประสาท femoral อย่างเดียว ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

Main Article Content

รุจิเรศ เตปิน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา การฉีดยาชาระงับความรู้สึกเส้นประสาท femoral ( femoral nerve block ) เป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับการระงับปวดด้านหลังของข้อเข่า ปัจจุบันมีวิธีระงับปวดวิธีใหม่ คือการฉีดยาชาระหว่างเส้นเลือดแดงขาพับกับแคปซูลด้านหลังข้อเข่า ( Infiltration between the popliteal artery and capsule of the knee ; IPACK ) พบว่าช่วยลดความปวดด้านหลังข้อเข่าได้ จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการอาการปวดหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาระหว่างเส้นเลือดแดงขาพับกับแคปซูลด้านหลังข้อเข่า ร่วมกับฉีดยาชาที่เส้นประสาท femoral เทียบกับวิธีการฉีดยาชาที่เส้นประสาท femoral อย่างเดียวในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า ( Prospective study ) ทำการศึกษาตั้งแต่ เดือนเมษายน 2562 ถึง เดือนธันวาคม 2562 ในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแบบข้างเดียว 28 คน ผู้ป่วยกลุ่มที่1 ได้รับการระงับปวดด้วยการฉีดยาชาระหว่างเส้นเลือดแดงขาพับกับแคปซูลด้านหลังข้อเข่า ( IPACK )ร่วมกับการฉีดยาชาระงับความรู้สึกเส้นประสาท femoral 15 คน และผู้ป่วยกลุ่มที่2 ได้รับวิธีการฉีดยาชาที่เส้นประสาท femoral อย่างเดียว 15 คน โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับเครื่องควบคุมความปวดด้วยตนเอง
ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มจะได้รับประเมินการใช้ยาแก้ปวดมอร์ฟีน ผลข้างเคียงของยาทุก 8 ชั่วโมง และการประเมินความปวดที่ 0 2 4 6 12 24 ชั่วโมง วิเคราะห์เปรียบเทียบด้วย exact proability test , T-test และ rank sum test
ผลการศึกษา มีผู้ป่วย 28 คนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเป็นผู้ป่วยที่ 1 15 คนและกลุ่มที่ 2 13 คน พบว่ากลุมที่1 ได้รับยาแก้ปวดมอร์ฟีน ในปริมาณที่น้อยกว่า ( ค่าเฉลี่ย 4.3/9.3 มิลลิกรัม ; p=0.0006) ที่ 8 ชั่วโมงแรก เกิดอาการคลื่นไส้น้อยกว่า(ค่าเฉลี่ย 5/12 ; p=0.002) ได้รับยาแก้คลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่า (ค่าเฉลี่ย 3/11 ;p=0.002) ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกลุ่มที่ 2 อย่างไรก็ตามปริมาณยาแก้ปวดมอร์ฟีนหลังจาก 8 ชั่วโมงและคะแนนความปวด ( VAS ) ไม่แตกต่างกันในสองกลุ่ม
สรุปผล การฉีดยาชาระหว่างเส้นเลือดแดงขาพับกับแคปซูลด้านหลังข้อเข่า ร่วมกับฉีดยาชาที่เส้นประสาท femoral มีประสิทฺภาพระงับปวดดีกว่าการฉีดยาชาที่เส้นประสาท femoral อย่างเดียวในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า และยังลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดได้ดีกว่าอีกด้วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. YaDeau JT, Cahill JB, Zawadsky MW, et al. The effects of femoral nerve blockade in conjunction with epidural analgesia after total knee arthroplasty. Anesth Analg. 2005 Sep;101(3):891-895.
2. Allen HW, Liu SS, Ware PD, Nairn CS, Owens BD. Peripheral nerve blocks improve analgesia after total knee replacement surgery. Anesth Analg. 1998 Jul;87(1):93-97
3. Elliott CE, Thobhani S. The adductor canal catheter and interspace between the popliteal artery and the posterior capsule of the kneefor total knee arthroplasty. Tech Reg Anesth Pain Manag 2014;18:126–129.
3. Sankineani S. R.Reddy A. R,Krishna Kiran Eachempati,Ajit Jangale, Gurava A.V. Comparison of adductor canal block and IPACK block (interspace between the popliteal artery and the capsule of the posterior knee)with adductor canal block alone after total knee arthroplasty:a prospective control trial on pain and knee function in immediate postoperative period.European Journal of Orthopaedic Surgery & Traumatology.2018 May;28:1391–1395
4. Salman T,Lauren S,Clint E. E,Bobby D,Leslie C T,et al.Novel Regional Techniques for Total Knee Arthroplasty Promote Reduced Hospital Length of Stay: An Analysis of 106 Patients. Ochsner J.2017; 17(3): 233–238.
5. วิรินารี คำพิทักษ์.เทคนิคใหม่ในการฉีดยาชาระหว่างหลอดเลือดแดงขาพับ และแคปซูลข้อเข่าภายใต้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อระงับปวดบริเวณด้านหลังเข่าหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม.จุลสาร Thai SRA ชมรมการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนแห่งประเทศไทย 2562;2:15-16.
6. Alves WM, Migon EZ, Zabeu JLA. Pain following total knee arthroplasty—a systematic approach. Rev Bras Ortop 2015;45:384–391.
7. Kim DH, Beathe JC, Lin Y, et al. Addition of infiltration between the popliteal artery and the capsule of the posterior knee and adductor canal block to periarticular injection enhances postoperative pain control in total knee arthroplasty. Anesth Analg 2018;129:1.
8. Reddy DAG, Jangale DA, Reddy DR, et al. To compare effect of combined block of adductor canal block (ACB) with IPACK (Interspace between the Popliteal Artery and the Capsule of the posterior Knee) and adductor canal block (ACB) alone on Total
knee replacement in immediate postoperative rehabili. Int J Orthop Sci 2017;3:141–145.
9. Ohgoshi Y, Matsutani M, Kubo EN. Use of IPACK block with continuous femoral triangle block for total knee arthroplasty: a clinical experience. J Clin Anesth 2019;54 (September 2018):52–54.
10. Kandarian B, Indelli PF, Sinha S, et al. Implementation of the IPACK (infiltration between the popliteal artery and capsule of the knee) block into a multimodal analgesic pathway for total knee replacement. Korean J Anesthesiol 2019;72:238–244.