การให้แอสไพรินขนาดต่ำเพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง

Main Article Content

จิตรากานต์ เจริญบุญ

บทคัดย่อ

ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญทางสูติศาสตร์ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม จะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารก  การประเมินความเสี่ยงและป้องกันการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในกลุ่มที่มีความเสี่ยงจึงเป็นประเด็นสำคัญ หลายองค์กรระดับโลกได้ออกคำแนะนำ ให้มีการให้แอสไพรินขนาดต่ำในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ


วัตถุประสงค์


ศึกษาเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในสตรีตั้งครรภ์กลุ่มความเสี่ยงสูงที่ได้รับแอสไพรินและกลุ่มความเสี่ยงสูงที่ไม่ได้รับแอสไพริน


วิธีการศึกษา


          การศึกษาย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลของสตรีตั้งครรภ์เดี่ยว กลุ่มความเสี่ยงสูงตามเกณฑ์ NICE จากเวชระเบียน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2562 วิเคราะห์เปรียบเทียบอุบัติการณ์โดย Risk Regression analysis โดยแสดงช่วงความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 กำหนดนัยสำคัญทางสถิติโดยใช้ p-value น้อยกว่า 0.05


 ผลการศึกษา


ผู้ป่วยในการศึกษา 406 ราย ได้รับแอสไพริน 190 ราย อายุเฉลี่ย 32.43 ปี ข้อบ่งชี้ที่พบสัดส่วนมากสุดคือ โรคความดันโลหิตสูง(69.70%) ได้รับยาแอสไพริน เฉลี่ยที่อายุครรภ์16.64 สัปดาห์ อุบัติการณ์การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษรวมทั้งสองกลุ่ม 119 ราย (ร้อยละ 29.31) กลุ่มที่ได้รับแอสไพริน 42 ราย ร้อยละ 22.11 กลุ่มที่ไม่ได้รับแอสไพริน 77ราย (ร้อยละ 35.65) โดยพบว่าแอสไพรินช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ อย่างมีนัยสำคัญ (RR 0.48 95%CI 0.29-0.77 ,p=0.002)  กลุ่มที่ได้รับแอสไพริน มีแนวโน้มเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษเร็วกว่า กลุ่มที่ไม่ได้รับแอสไพริน (อายุครรภ์ 34.36 สัปดาห์และอายุครรภ์ 35.56 สัปดาห์ ,p=0.076) ในส่วนของผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับแอสไพริน มีภาวะทารกตัวเล็กกว่าเกณฑ์อายุครรภ์ มากกว่ากลุ่มไม่ได้รับแอสไพริน (ร้อยละ26.84, ร้อยละ23.61)แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ภาวะแทรกซ้อนอื่นไม่มีความแตกต่างกันในสองกลุ่ม


สรุปและข้อเสนอแนะ


การให้แอสไพรินขนาดต่ำ ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญจากการใช้ยา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

REFERENCES
1. Mol BWJ, Roberts CT, Thangaratinam S, Magee LA, de Groot CJM, Hofmeyr GJ. Pre-eclampsia. Lancet. 2016;387:999–1011.
2. Ananth CV, Keyes KM, Wapner RJ. Pre-eclampsia rates in the United States, 1980–2010: age-period-cohort analysis. BMJ. 2013;347:f6564.
3. Beaufils M, Donsimoni R, Uzan S, Colau JC. Prevention of pre-eclampsia by early antiplatelet therapy. Lancet. 1985;1:840–2.
4. ACOG Practice Bulletin No. 202: Gestational Hypertension and Preeclampsia
5. National Collaborating Centre for Women’s and Children’s Health (UK). Hypertension in Pregnancy: The Management of Hypertensive Disorders during Pregnancy. London: RCOG Press, 2010.
6. Rolnik DL, Wright D, Poon LC et al. Aspirin versus placebo in pregnancies at high risk for preterm preeclampsia. N Engl J Med 2017; 377: 613–622.
7. Atallah A, Lecarpentier E, Goffinet F, Doret-Dion M, Gaucherand P, Tsatsaris V. Aspirin for Prevention of Preeclampsia. Drugs. 2017 Nov;77(17):1819-1831. doi: 10.1007/s40265-017-0823-0. PMID: 29039130; PMCID: PMC5681618.
8. World Health Organization (WHO). WHO recommendations for prevention and treatment of pre-eclampsia and eclampsia. Geneva: WHO; 2011.
9. Duley L, Henderson-Smart DJ, Meher S, King JF. Antiplatelet agents for preventing pre-eclampsia and its complications. Cochrane Database Syst Rev. 2007;(2):CD004659.
10. แนวทางการปฏิบัติ ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ RTCOG Clinical Practice Guideline Management of Preeclampsia and Eclampsia พศ. 2558
11. NICE guideline NG133 : Hypertension in pregnancy diagnosis and management
12. Poon LC, Wright D, Rolnik DL, et al. Aspirin for Evidence-Based Preeclampsia Prevention trial: effect of aspirin in prevention of preterm preeclampsia in subgroups of women according to their characteristics and medical and obstetrical history. Am J Obstet Gynecol 2017;217:585.e1-5.