การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอกคำใต้ ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง

Main Article Content

อำพรทิพย์ อุดทาโท

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอกคำใต้ ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลแม่ตีบ ที่รับยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอกคำใต้ การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย จำนวน 20 ราย โดยการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จำนวน 35 ราย จากการคำนวนขนาดตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องพฤติกรรมในการดูแลตนเอง โดยสถิติที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


จากผลการศึกษา พบว่า เกิดโปรแกรมการจัดการตนเองตำบลแม่ตีบ (Maeteep Model) ที่สามารถนำไปเป็นรูปแบบการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้  และพบว่าภายหลังดำเนินโปรแกรมการจัดการตนเอง พฤติกรรมในการดูแลตนเอง 5 ด้าน อยู่ระดับสูงทั้งหมด ประกอบด้วย พฤติกรรมด้านอาหาร (= 3.56) พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย (= 3.62) พฤติกรรมด้านอารมณ์ (= 2.65) พฤติกรรมด้านการรับประทานยา (= 3.82) และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านการสูบบุหรี่และดื่มสุรา (= 2.75) และพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลตนเอง ประกอบด้วย พฤติกรรมด้านอาหาร พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย และพฤติกรรมด้านอารมณ์เพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (P-value<0.001) ในส่วนระดับน้ำตาลสะสมในเลือดก่อนและหลังดำเนินโปรแกรมการจัดการตนเอง มีค่าเฉลี่ยลดลง จาก 8.45 เป็น 7.68 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  (t = 3.687)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย.หมออนามัยกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน. หมออนามัย 2543;ปีที่ 9 (ฉบับที่ 4): หน้า 17 -32.
2. WDD 2013-DIABETES : PROTECT OUR FUTER.[online].[Cited 2013 Sep 23] ; Available from : URL: http://www.idf.org/wolddiabetesday/2013.
3. สำนักโรคไม่ติดต่อ ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php. วันที่ค้นข้อมูล 1 มกราคม 2562.
4. องอาจ นัยพัฒน์. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา;2548. หน้า 131-139.
5. พิไลวรรณ ยอดประสิทธิ์. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานไม่พึ่งอินชูลิน อายุ 40 ปีขึ้นไป. คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย: 2542.
6. พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม และคณะ. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 :กรณีศึกษา ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี:2560.
7. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปางและวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง .คู่มือการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน: 2562.
8. ทิพย์ศุภางค์ สุวรรณศร. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นเบาหวาน. โรงพยาบาลห้างฉัตร จังหวัดลำปาง: 2550.
9. กาญจนา เกษกาญน์. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช: 2535.
10. สาวิตรี นามพะธาย . ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ที่ควบคุมไม่ได้.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน: 2561.
11. วีนา เที่ยงธรรม และคณะ. โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: 2551.