การพัฒนารูปแบบการดูแลและระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดทรวงอก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

ยุพิน บุญปถัมภ์
อรุณีย์ ไชยชมภู
อุบลรัตน์ ชุ่มมะโน
ปรารถนา วุฒิชมภู
วีนา วงค์งาม

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การผ่าตัดทรวงอกเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจ หัวใจ หลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะพร่องน้ำหรือเลือดขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด โดยภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พบบ่อย     ในการระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดทรวงอก ได้แก่ การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ปอดบวมน้ำ และหัวใจหยุดเต้น การดูแลและระงับความรู้สึกผู้ป่วยจึงต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และความเชี่ยวชาญสูงในการปฏิบัติ


วัตถุประสงค์: พัฒนาและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลและระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดทรวงอก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ประกอบด้วย ความรู้ของผู้ป่วย ความรู้ ความคิดเห็นและความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนหลังระงับความรู้สึก และความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนวิสัญญี


วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยเชิงพัฒนา ทำการศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2564 กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ ผู้ให้บริการ (วิสัญญีพยาบาล) จำนวน 30 ราย และผู้ใช้บริการ (ผู้ป่วยผ่าตัดทรวงอก) จำนวน 60 ราย การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการดูแลและระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดทรวงอก (Thoracotomy) ระยะที่ 2 ดำเนินการตามรูปแบบการดูแลฯ และประเมินผล ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบคะแนนความรู้ของผู้ป่วยและวิสัญญีพยาบาลด้วยสถิติ t-test เปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปและข้อมูลผลลัพธ์ของทั้งสองกลุ่มด้วย t-test, exact probability test, rank sum test และ multivariable regression


ผลการศึกษา: รูปแบบการดูแลและระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดทรวงอกที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ     1) การประเมินความเสี่ยงและเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนระงับความรู้สึก 2) การดูแลและเฝ้าระวังขณะระงับความรู้สึกและผ่าตัด 3) การดูแลและเฝ้าระวังหลังระงับความรู้สึกและผ่าตัด 4) แนวทางการให้ข้อมูลการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องก่อนและหลังระงับความรู้สึกและผ่าตัด และ 5) แนวทางการบันทึกเวชระเบียนวิสัญญี เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้รูปแบบการดูแลฯ พบว่าคะแนนความรู้เฉลี่ยของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 4.3±1.2 เป็น 9.7±0.5 คะแนน (p<0.001) คะแนนความรู้เฉลี่ยการดูแลและระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดทรวงอกของวิสัญญีพยาบาล เพิ่มขึ้นจาก 8.0±0.9 เป็น 9.0±0.8 คะแนน (p<0.001) วิสัญญีพยาบาลมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการดูแลฯ มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย สะดวก ง่าย และเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง มีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด การใช้รูปแบบการดูแลฯ ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Severe pain หลังผ่าตัดลงร้อยละ 45.2 (95%CI -74.0, -16.7; p=0.002) ภาวะ Desaturation ร้อยละ 31.1 (95%CI -56.1, -6.1; p=0.015) ภาวะ Reintubation ร้อยละ 6.0 (95%CI    -13.2, -1.2; p=0.100) และภาวะ Shivering ร้อยละ 5.6 (95%CI -24.0, 12.7; p=0.545) นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนวิสัญญีถึงร้อยละ 69.2 (95%CI 50.2, 88.1; p<0.001)


สรุปและข้อเสนอแนะ: การใช้รูปแบบการดูแลและระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดทรวงอก ช่วยเพิ่มความรู้ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เพิ่มความรู้ในการดูแลและระงับความรู้สึกให้แก่วิสัญญีพยาบาล ลดภาวะ Severe pain, Desaturation, Shivering และ Reintubation หลังระงับความรู้สึก และเพิ่มความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนวิสัญญี จึงควรใช้รูปแบบการดูแลฯในผู้ป่วยผ่าตัดทรวงอกทุกราย เพื่อให้การดูแลมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

REFFERENCES
1. Angkasuvan W, Hombut K. Trend of Critical Anesthetic Complications at a Tertiary Hospital 2007-2016. Thai J Anesthesiol. 2018;44(3): 98-106.
2. Statistical Report 3 year (2017-2019) of Chest Vascular and Thoracic Department, Chiangrai Prachanukroh Hospital.
3. Statistical Report 3 year (2016-2018) of Reintubation in Anesthesiology department Chiangrai Prachanukroh Hospital.
4. Slinger PD, Campos JH. Anesthesia for Thoracic Surgery. In: Gropper MA, Miller RD, editors, Miller’s Anesthesia nine edition. Philadelphia: PA; 2020. p.1819-85.
5. Royal College of Physicians. National Early Warning Score (NEWS) 2: Standardising the assessment of acute-illness severity in the NHS. Updated report of a working party [Internet]. London: RCP, 2017[cited 2020 Feb 28]. Available from: http://allcatsrgrey.org.uk/wp/ download/governance/clinical_governance/NEWS2-final-report_0.pdf
6. Thai Association for the Study of Pain (ATSP). Clinical Guidance for Acute Pain Management. Bangkok; 2009.
7. Boonprasert U. Educational planning. Bangkok: S D Press; 2004.
8. Pengsawat W. Research and Development. Sakon Nakhon Rajabhat University Journal. 2009;1(2):2-12.
9. Hersey P, Blanchard KH, Johnson DE. Management of Organizational Behavior: Utilizing Human Resource. Upper Saddle River, NJ Prentice-Hill; 1996.
10. Hinkle J, Cheever K H, editors. Brunner & Suddarth’s Textbook of mediacl-surgical nursing. (14th). Philadelphia: Wolters Kluwer; 2018.
11. Saeangchai J, Piyasut C, Kaewkulpat S. Multimodal PainManagement: Goal setting for Postoperative Pain. Boromarajonani College of Nursing Uttaradit Journal. 2019;11(2).161-71.
12. Galvin IM, Levy R, Day AG, Gilron I. Pharmacological interventions for the prevention of acute postoperative pain in adults following brain surgery (Review). Cochrane Database of Systematic Reviews. Cochrane Library. 2019.
13. Thavaneswaran P, Rudkin GE, Cooter RD, Moyes DG, Perera C, Maddern GJ. Brief reports: paravertebral block for anesthesia: a systematic review. Anesth Analg. 2010;110(6):1740-4.
14. The Royal College Of Anesthesiologists Of Thailand and Thai Association for the Study of Pain (ATSP). Clinical Guidance for Acute Postoperative Pain Management. Bangkok; 2019.
15. Thongpramoon W, Mantraporn N. One Lung Ventilation (OLV) Anesthesia: Nurse Anesthetis Role.Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice. 2015;2(2).26-40.
16. Uppan K, Jeerararuensak W, Chau-In W, Chairatana L, Promkhoten P. Anesthesia Related to Reintubation after Planned Extubation within 24 Hours after General Anesthesia in Srinagarind Hospital: Incidence and Risk Factors. Srinagarind Medical Journal. 2011;26(4).325-32.
17. Witte JD, Sessler DI. Perioperative shivering: Physiology and pharmacology. Anesthesiology[Internet]. 2002[cited 2020 Feb 18];96:467–484. Available from: https://pubs.asahq.org/anesthesiology/article/96/2/467/39972/Perioperative-ShiveringPhysiology-and-Pharmacology