การพัฒนาแนวทางการจัดการความเจ็บปวด ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Main Article Content

จงลักษ์ รสสุขุมาลชาติ
พนารัตน์ เจนจบ

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: ความปวดเป็นประสบการณ์ทางความรู้สึกและอารมณ์ที่ไม่สบายจากการที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย พยาบาลวิชาชีพจะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งทำหน้าที่ในการประเมินและจัดการกับความปวดในผู้ป่วยทุกราย แต่พบว่ายังขาดความรู้และความตระหนักในการประเมิน ไม่ครอบคลุม ไม่ต่อเนื่อง และบันทึกไม่ครบถ้วน แนวทางปฏิบัติไม่เฉพาะกับผู้ป่วย ตลอดจนการไม่นำแนวทางไปปฏิบัติ จึงควรมีการพัฒนาแนวทางการจัดการความปวดให้ครอบคลุม โดยการสร้างแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วย เพื่อให้การจัดการความปวดของโรงพยาบาลเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ


วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความปวด และเพื่อประเมินผลแนวทางการจัดการความปวดในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 374 คน กลุ่มเวชระเบียนผู้ป่วย จำนวน 134 เวชระเบียน มีขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสถานการณ์ปัญหาและอุปสรรค ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพะพัฒนาแนวทางการจัดการความปวด ขั้นตอนที่ 3 นำแนวทางการจัดการความเจ็บปวดไปทดลองและปรับปรุงและขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลแนวทางการจัดการความปวด สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด แบบสำรวจและแบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย: สภาพปัจจุบันของการจัดการความปวดพบว่าพยาบาลวิชาชีพรับรู้ว่ามีคู่มือการจัดการความปวด ร้อยละ 63.01 และมีประสบการณ์การปฏิบัติตามแนวทางการจัดการความปวด ร้อยละ 91.30 ส่วนผลลัพธ์ของการใช้แนวทางการจัดการความปวด เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างการใช้แนวทางแบบเดิมและแนวทางแบบใหม่ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 นอกจากนี้ ผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย ยังมีความพึงพอใจต่อแนวทางการจัดการความปวดแบบใหม่ในระดับมาก อีกทั้ง พยาบาลวิชาชีพยังมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อแนวทางการจัดการความปวดแบบใหม่ ร้อยละ 48.28 ในขณะเดียวกัน พยาบาลวิชาชีพยังมีความคิดเห็นว่าการใช้แนวทางการจัดการความปวดแบบใหม่มีความเป็นไปได้ ร้อยละ 70.00


สรุปผล: แนวทางการจัดการความปวดแบบใหม่สามารถผลักดันให้พยาบาลวิชาชีพเกิดกระบวนการเรียนรู้การทำงานด้านความปวด มีความพึงพอใจและมีความเป็นไปได้ในการใช้แนวทางการจัดการความปวดแบบใหม่ รวมทั้ง ยังสามารถลดความเจ็บปวดและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ป่วยได้เช่นกัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Nursalam K. Nursing management: application in professional nursing practice. 2nd ed. Jakarta: Salemba Medika; 2008.
2. International Association for the Study of Pain. IASP Terminology [Internet]. 2017 [cited 2018 Aug 1]; Available from: https://www.iasp-pain.org/Education/Content.aspx?ItemNumber=1698.
3. National Pharmaceutical Council. Pain: current understanding of assessment, management, and treatments. Washington, DC: National Pharmaceutical Council; 2001.
4. Department of Veterans Affairs. Pain as the 5th Vital Sign Toolkit. Washington, DC: Geriatrics and Extended Care Strategic Healthcare Group; 2000.
5. Ngamkham S, Krutchan N, Sawangchai J, Wattanakul B, Chidnayee S, Kiewcha-um R. Knowledge about pain assessment and management of Thai nurses. Journal of Nursing and Health Care 2018;36(1):81-9.
6. Yooyod S, Wongnaya S. Development of practice guideline for postoperative pain management in recovery room at Kamphaeng Phet Hospital. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal 2010;16(1):156-67.
7. Thosingha O. Management of patients with pain in emergency care: the nurses’ roles [Internet] 2009. [cited 2018 Oct 2]; Available from: https://www.slideshare.net/taem/t aem10pain-management-for-nurse.
8. Meepap L, Saensom D, Methakanjanasak N. Clinical nursing practice guideline for acute pain management in critically ill patients. Srinagarind Medical Journal 2017;32(6):561- 70.
9. Nuchaiplot P, Petpichetchian W, Sangchan H. Development and evaluation of the emergency department traumatic wound pain management guidelines. Nursing Journal 2014;41(Sup):88-98.
10. Sinsang F, Jumpamool A. Relationships between patient characteristics, nurse characteristics, nursing unit and patient satisfaction with pain management in inpatient care units, general hospital northeastern, Thailand. Journal of Nurses’ Association of Thailand, North-Eastern Division 2010;28(1):48-55.
11. Pakanta I, Lincharearn A, Toolyodpun S. A development model of pain management outcome evaluation for tertiary hospital. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) 2018;11(1):129-40.
12. Soottipong A, Oumkrua A, Arayajaru P. The development of pain management system for different kinds of patient at Ratchaburi hospital. Journal of Nursing Division 2013;40(3):85-99.
13. Punyodyana S, Thongchai C, Somrarnyart M. Effectiveness of implementing clinical practice guidelines for pain management among critically Ill patients in surgical intensive care unit. Thai Journal of Nursing Council 2011;26(4):82-95.
14. Mitchell PH, Ferdetich S, Jennings BM. Quality health outcomes model. Journal of Nursing Scholarship 1998;30(1):43-6.
15. Anotharo C. The role of nurses in pain assessment. Thai Journal of Nursing 2002; 20:8-18.