ระดับความเครียด และความชุกของโรคซึมเศร้าของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขุนตาล อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย, ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขุนตาล
- เพื่อศึกษาความชุกของโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขุนตาล
- เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดและโรคซึมเศร้าของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขุนตาล
วิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาใช้แบบสอบถาม 3ชุด ดังนี้ ชุดที่1 ข้อมูลส่วนบุคคล ชุดที่ 2 แบบประเมินความเครียด(ST5) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ชุดที่ 3 แบบประเมินซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย (2q 9q 8q) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) แสดงผลเป็นค่าจำนวนข้อมูลค่าความถี่ ค่าร้อยละ การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
ผลการศึกษา พบว่าเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขุนตาล 133 คน มีระดับความเครียดอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 67.7 ระดับเครียดปานกลางร้อยละ 27.1 ระดับเครียดมากร้อยละ 3.8 ระดับเครียดมากที่สุด ร้อยละ 1.5 ไม่พบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การประเมินความชุกของโรคซึมเศร้าพบร้อยละ 9.8 ส่วนใหญ่เป็นโรคซึมเศร้าระดับน้อย ร้อยละ 9 ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือระดับการศึกษา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขุนตาลส่วนใหญ่ร้อยละ 97.7 ไม่มีแนวโน้มการฆ่าตัวตาย มีแนวโน้มการฆ่าตัวตายระดับน้อยร้อยละ 0.8 มีแนวโน้มการฆ่าตัวตายระดับปานกลางร้อยละ 1.5
สรุป ภาวะเครียดและโรคซึมเศร้าในเจ้าหน้าที่เป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการสำรวจและหาแนวทางป้องกันเพื่อให้บุคลากรมีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการทำงานต่อไป.
Article Details
References
1. Kritbhop Thitaree, Warut Chaiwong. Study on Prevalence of Work-related Stress and Relating Factors among Staff in a Private Hospital. Thammasat Medical Journal. 2019;19(1): 115-132.
2. Amornrat Tanthitippong . Prevalence and predicting factors of depression and stress from work in Vachira Phuket Hospital’s employees. Reg 11 Med J. 2019;33(1)203-216.
3. Ingvar Bjelland. Does a higher educational level protect against anxietyand depression? The HUNT study. Social Science & Medicine. 2008;1-12. Available from: https://www.researchgate.net/publication/5618340_Does_higher_education_protect_against_anxiety_and_depression_The_HUNT_study.
4. Kantarote Sookkul , Pramote Wongsawat . Depression in the Working Age Population: The Related Factors and the Care Guideline. JOURNAL OF PHRAPOKKLAO NURSING COLLEGE. 2019;30(2):229-238.
5. Michael Udedi. The Prevalence of Depression Among Patients and Its Detection by Primary Health Care Workers at Matawale Health Centre (Zomba). Malawi Med J. 2014;26(2):34-37.
6. Min-Seok Kim, Taeshik Kim , Dongwook Lee , Ji-Hoo Yook , Yun-Chul Hong , Seung-Yup Lee et al. Mental disorders among workers in the healthcare industry: 2014 national health insurance data. Annals of Occupational and Environmental Medicine. 2018;30(31)
7. Sukanya Rukkhajeekul. Depression and Suicidal Behaviors among Naresuan University Students. J Psychiatr Assoc Thailand. 2013;58(4):359-370.
8. Praleena Thongsri, Araya Chiangkhong, Thanayot Sumalrot. A Causal Model of Factors Affecting Depression in Traffic Police of the Metropolitan Police Bureau. Journal of Public Health Nursing. 2018;32(1):59-76.
9. Boonpanitch P, Kalayasiri R, Buathong N. Depression and fatigue among flight attendants in Thailand. Chula Med J 2018 Nov – Dec;62(6): 23-35
10. Prathana Sawasdisutha , Sirichai Hongsanguansri. Coping Mechanisms among High School Students in Bangkok. J Psychiatr Assoc Thailand. 2016;61(1):41-52