ประสิทธิผลของสเปรย์ลิโดเคน ต่อการลดความปวดจากการถูกตะขาบกัด ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ณ ห้องตรวจอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Main Article Content

ศิวนาฏ พีระเชื้อ
กัญจนี วชิรรังสิมันตุ์

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: ผู้ป่วยถูกตะขาบกัดส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยความปวดจากพิษตะขาบ ปัจจุบันการรักษาพิษทำได้หลายวิธี มีทั้งให้ยาแก้ปวดในรูปแบบกินหรือฉีด การประคบเย็น, อุ่น การฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าบริเวณบาดแผล ในปัจจุบันนี้ มีการนำยาชาในรูปแบบพ่น ซึ่งออกแบบมาสำหรับใช้กับเยื่อบุผิว มาใช้ระงับปวดบนผิวหนังมนุษย์ ในหลายงานวิจัยพบว่าได้ผลดี แต่ไม่เคยมีงานวิจัยใช้รักษาความปวดจากแผลตะขาบกัดมาก่อน


วัตถุประสงค์: การศึกษานี้ทำขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิผลของสเปรย์ลิโดเคนเทียบกับการฉีดยาชาเฉพาะที่ เพื่อลดความเจ็บปวดจากการถูกตะขาบกัด


วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Prospective Observational Study และเป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) ในผู้ป่วยอายุ 18 ปี ขึ้นไป มาตรวจด้วยการถูกตะขาบกัด ณ ห้องตรวจอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่าง 1 มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2563 ทั้งหมด 52 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการสลับหมายเลขแบบสอบถาม แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยลิโดเคนสเปรย์พ่นบริเวณบาดแผล และกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาชาที่แผล วัดประสิทธิผลโดยประเมินความเจ็บปวดที่เปลี่ยนแปลงไปเทียบก่อนให้การรักษา และ 15 นาทีหลังให้การรักษา ใช้ Numeric Rating Scale หรือ Wong-Baker faces pain rating scale วัดผล สถิติที่ใช้ในการคำนวนคือ Fisher’s Exact Test, Komogorov-Smirnov Test, Independent t-test


ผลการศึกษา: คะแนนความเจ็บปวดที่เปลี่ยนแปลงไปเฉลี่ยในกลุ่มที่พ่นสเปรย์ลิโดเคนและการฉีดยาชาเฉพาะที่คือ 4.38 ± 1.52 และ 4.35 ± 1.62   เมื่อคำนวณทางสถิติ Independent t-test พบว่า ทั้งสองวิธีสามารถบรรเทาปวดโดยมีประสิทธิผลไม่แตกต่างกันที่ p> 0.05 และจากสถิติ Paired t-test พบว่า การพ่นสเปรย์ลิโดเคน และ การฉีดยาชาเฉพาะที่ ลดอาการปวดของผู้ป่วยที่มารับการรักษาได้จริงที่ p< 0.05   


สรุปผลและข้อเสนอแนะ:  เมื่อรักษาผู้ป่วยด้วยสเปรย์ลิโดเคนและการฉีดยาชาบริเวณแผลหรือรอบแผล สามารถลดปวดได้ใกล้เคียงกัน แต่วิธีการพ่นสเปรย์ลิโดเคน เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ผู้ป่วยเจ็บจากการรักษาน้อยลง ค่าใช้จ่ายต่อการรักษาน้อยกว่า ใช้ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นขณะรอแพทย์ตรวจได้ ควรนำผลของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ปรับใช้ในบริบทของโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไปของจังหวัดตาก เนื่องจากลิโดเคนสเปรย์มีประจำในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ง่าย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1) A van Stranten, AA Murray, Al Levin. Xylocaine® 10% pump spray as topical anaesthetic for venepuncture pain. Southern African Journal of Anaesthesia and Analgesia. 2018;24(3), 75–8.
2) Becker DE, Reed KL. Local anesthetics: review of pharmacological considerations. Anesth Prog. 2012;59(2):90-101; quiz 102-3. doi: 10.2344/0003-3006-59.2.90. PMID: 22822998; PMCID: PMC3403589.
3) Chung HC, Chian KC, Jih CC, Te FC, Chih CL. Comparisons of ice packs, hot water immersion, and analgesia injection for the treatment for the treatment of centipede envenomation in Taiwan. Clinical toxicology (Philadelphia, Pa.)2009;7(47):659-62
4) Cuomo R, D'Aniello C, Grimaldi L, Nisi G, Botteri G, Zerini I, Brandi C. EMLA and Lidocaine Spray: A Comparison for Surgical Debridement in Venous Leg Ulcers. Adv Wound Care (New Rochelle). 2015;4(6):358-61. doi: 10.1089/wound.2014.0605. PMID: 26029486; PMCID: PMC4440991.
5) Desai C, Wood FM, Schug SA, Parsons RW, Fridlender C, Sunderland VB. Effectiveness of a topical local anesthetic spray as analgesia for dressing changes: a double-blinded randomised pilot trial comparing an emulsion with an aqueous lidocaine formulation. Burns. 2014;40(1):106-12. doi: 10.1016/j.burns.2013.05.013. Epub 2013 Jun 27. PMID: 23810271.
6) Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods. 2009;41(4):1149-60. doi: 10.3758/BRM.41.4.1149. PMID: 19897823.
7) Fung HT, Lam SK, Wong OF. Centipede bite victims: a review of patients presenting to two emergency departments in Hong Kong. Hong Kong Med J. 2011 Oct;17(5):381-5. PMID: 21979475.
8) Hjermstad MJ, Fayers PM, Haugen DF, Caraceni A, Hanks GW, Loge JH, Fainsinger R, Aass N, Kaasa S; European Palliative Care Research Collaborative (EPCRC). Studies comparing Numerical Rating Scales, Verbal Rating Scales, and Visual Analogue Scales for assessment of pain intensity in adults: a systematic literature review. J Pain Symptom Manage. 2011;41(6):1073-93. doi: 10.1016/j.jpainsymman.2010.08.016. PMID: 21621130.
9) Judith E. Tintinalli, O. John Ma, Donald M. Yealy, Garth D. Meckler, J Stephan Stapczynski, David M. Cline, et al. Tintinalli’s emergency medicine: A Comprehensive Study Guide. 9th edition. New York: McGraw-Hill, c2020.
10) Kanai A, Suzuki A, Okamoto H. Comparison of cutaneous anesthetic effect of 8% lidocaine spray with lidocaine patch using current perception threshold test. Pain Med. 2010 ;11(3):472-5. doi: 10.1111/j.1526-4637.2009.00790.x. Epub 2010 Jan 22. PMID: 20113414.
11) Kanai A, Kumaki C, Niki Y, Suzuki A, Tazawa T, Okamoto H. Efficacy of a metered-dose 8% lidocaine pump spray for patients with post-herpetic neuralgia. Pain Med. 2009;10(5):902-9. doi: 10.1111/j.1526-4637.2009.00662.x. PMID: 19682274.
12) Karcioglu O, Topacoglu H, Dikme O, Dikme O. A systematic review of the pain scales in adults: Which to use? Am J Emerg Med. 2018 ;36(4):707-714. doi: 10.1016/j.ajem.2018.01.008. Epub 2018 Jan 6. PMID: 29321111. McGraw-Hill Education.2020
13) Medical records and statistics division of Somdejprajaotaksinhamaraj hospital.Statistics of centipede bites from 2016-2020.(cited 2020 May 10).Available from http://www.tsm.go.th/personal/.
14) Monsicha N, Kamonwan L, Praew K, Thapanawong M.Epidemiology, clinical presentation, and treatment outcome of centipede envenomations in a northeastern region of Thailand.KKU journal of medicine.2017;3(1), 37-46.
15) National Institute for Emergency Medicine. NIEMS has warned people to beware of poisonous insects and animals during the rainy season due to humidity in the weather.2019 (cited 2020 May 8).Available from: https://www.niems.go.th/1/News/Detail/3579?group=6.
16) Othong R, Wananukul W, Vohra R. Centipede Envenomation: 104 Cases from Bangkok, Thailand. Toxicon 2012;60:142.
17) Ross EJ, Jamal Z, Yee J. Centipede Envenomation. [Updated 2020 Aug 13]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2020 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK542312/