การพยาบาลผู้บาดเจ็บช่องท้องที่มีภาวะช็อกและได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

Main Article Content

โสพิศ เวียงโอสถ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา: การบาดเจ็บของช่องท้องเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการเสียเลือดและมีภาวะช็อกได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง อาจเสียชีวิตได้ภายใน ผ่านจากภาวะวิกฤตสู่ระยะฟื้นสภาพได้อย่างปลอดภัย


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาจำนวน 2 ราย และเสนอแนวทางการวางแผนการพยาบาลฉุกเฉินผู้บาดเจ็บช่องท้องที่มีภาวะช็อกและต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน


วิธีการศึกษา: การคัดเลือกกรณีศึกษา ระหว่างปี 2562 – 2563 จากเวชระเบียนผู้ป่วย โดยกำหนดเกณฑ์ ได้แก่ อายุ 21 ปีขึ้นไป เป็นผู้บาดเจ็บช่องท้องจากอุบัติเหตุ มีภาวะช็อก เข้ารับการรักษาที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน


ผลการศึกษา: ผู้บาดเจ็บช่องท้องที่มีภาวะช็อกและได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินทั้งสองรายได้รับการรักษา ณ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินตามหลักการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุขั้นสูง และเข้ารับการผ่าตัดในเวลาต่อมา โดยกรณีศึกษาทั้งสองรายได้รับการประเมินและวิเคราะห์ภาวะสุขภาพโดยใช้ 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่พบทั้งสองราย ได้แก่ เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากการสูญเสียเลือดในช่องท้องอย่างรุนแรง เสี่ยงต่อการสูญเสียน้ำในร่างกายต่อไป เนื่องจากการสูญเสียเลือดจากความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ปวดรุนแรงเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บร่วมกับมีอวัยวะฉีกขาดในช่องท้อง พฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดความตระหนักในการดูแลตนเอง และวิตกกังวลและมีภาวะเครียดเนื่องจากความเจ็บป่วยเฉียบพลัน


สรุปและข้อเสนอแนะ: กรณีศึกษาทั้งสองรายได้รับการดูแลตามเกณฑ์ช่องทางด่วนอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน และรักษาเป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุวิกฤต ข้อมูลที่ได้จากการเปรียบเทียบกรณีศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในการให้การพยาบาลแบบองค์รวมและนำมาวางแผนการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบบริการสุขภาพต่อไป


คำสำคัญ: การพยาบาลฉุกเฉิน, บาดเจ็บช่องท้อง, ช็อก, ผ่าตัดฉุกเฉิน, กรณีศึกษา


 

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. Mehta N, Babu S, Venugopal K. An experience with blunt abdominal trauma: Evaluation, management and outcome. Clin Pract. 2014; 4: 34-37.
2. Bouzat P, Valdenaire G, Gauss T, Charbit J, Arvieux C, Balandraud P, et al. Early management of severe abdominal trauma. Anaesth. Crit. Care Pain Med. 2020; 39: 269-277.
3. Diercke DB, Clarke SO. Initial evaluation and management of blunt abdominal trauma in adults [Internet]. 2020 [cited 2020 July 20]. Available from https://bit.ly/3iH9Hk7
4. Emergency department, Chaingrai Prachnukroh Hospital. Annual statistic of Emergency department 2019.
5. Pimentel SK, Sawczyn GV, Mazepa MM, Rosa FGGD, Nars A, Collaco IA. Risk factors for mortality in blunt abdominal trauma with surgical approach. Rev. Col. Bras. Cir. 2015; 42(4): 259-264.
6. Sriussadaporn S. Abdominal injury. In: Chittmittrapap S, Navicharern P, editors, Textbook of surgery volume 1. Bangkok: Pilin Book net; 2015. p. 373 – 91.
7. American College of Surgeons. Advanced trauma life support student course manual [Internet]. 2018 [cited 2020 April 10]. Available from: https://viaaerearcp.files.wordpress.com/2018/02/atls-2018.pdf
8. Karaca T. Functional health patterns model – A case study. Case Studies Journal. 2016; 5(7): 14-22.
9. Promla W. Factor influencing the recovery of patients with abdominal surgery during the first week. Proceeding of 6th National and International Research Conference; 2018 October 5; Khon Kaen, Thailand. Collage of Asian Scholars; 2018.