ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้บาดเจ็บวิกฤตตามหลักฐานเชิงประจักษ์ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

สายสม รุจิพรรณ
โสพิศ เวียงโอสถ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา: ผู้บาดเจ็บวิกฤตมีภาวะคุกคามต่อชีวิต พยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินจะมีบทบาทสำคัญในชั่วโมงทองหลังเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากหากผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม และทันท่วงทีตามหลักการช่วยชีวิตขั้นสูงแล้วอาจช่วยป้องกันความพิการและลดอัตราการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้


วัตถุประสงค์: พัฒนาและศึกษาผลแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตตามหลักฐานเชิงประจักษ์ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์


วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทำการศึกษาระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน 2563 กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่สุขภาพ จำนวน 10 ราย และผู้บาดเจ็บวิกฤตจำนวน 100 ราย คัดเลือกแบบเจาะจง การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สวอทและเก็บข้อมูลก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ระยะที่ 2 การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ


ผลการศึกษา: แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ประกอบด้วย ประกอบด้วย (1) การคัดแยก ประเมิน และจัดการพยาบาลเบื้องต้น (2) การประเมินอย่างละเอียดและจัดการพยาบาล (3) การเตรียมผู้บาดเจ็บวิกฤตเข้ารับการผ่าตัด (4) การประสานงานและนำส่งผู้บาดเจ็บวิกฤตไปยังหอผู้ป่วยหนัก และ (5) การให้ข้อมูลแก่ญาติ ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ พบว่า ระยะเวลาอยู่ในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ระยะเวลารอคอยเพื่อได้รับเลือด และการได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินของกลุ่มตัวอย่างผู้บาดเจ็บวิกฤตก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านอัตราการเสียชีวิตและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


สรุปและข้อเสนอแนะ: การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ มีผลต่อการลดระยะเวลาการอยู่ในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน การรอเพื่อได้รับเลือด และการเข้ารับผ่าตัดฉุกเฉิน แต่ไม่มีผลลดอัตราการเสียชีวิตและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ควรมีการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้บาดเจ็บวิกฤตฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้การดูแลผู้บาดเจ็บวิกฤตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Markopoulou A, Argyrio G, Charalampidis E, Koufopoulou A, Nestor A, Nanas S, et al. Time-to-treatment for critically ill-polytrauma patients in emergency department. Health Sci J. (2013); 7(1): 81-9.
2. Gunnerson KJ, Bassin BS, Havey RA, Hass NL, Sozener CB, Medlin RP, et al. Association of an emergency department-based intensive care unit with survival and inpatient intensive care unit admissions. JAMA. (2019); 2(7): 1-11.
3. UCEP Coordination Center. Universal coverage for emergency patients: UCEP report [Internet]. 2019 [cited 2020 April 10]. Available from: https://bit.ly/3bTmixO
4. American College of Surgeons. Advanced trauma life support student course manual (10th ed.) [Internet]. 2018 [cited 2020 April 10]. Available from: https://viaaerearcp.files.wordpress.com/2018/02/atls-2018.pdf
5. Tettanom P. Patient safety and overcrowding in emergency room. Public Health & Health Laws Journal. (2018); 4(2): 238-49.
6. Emergency department, Chaingrai Prachnukroh Hospital. Annual statistic of Emergency department 2019.
7. Ministry of Public Health. (2019). Key performance indicator 2020.) [Internet]. 2019 [cited 2020 August 3]. Available from: https://bit.ly/3ht87Ro
8. Sanitlou N. Satphet W. Napaarak Y. Sample size calculation using G*Power program. SVIT Journal. (2019); 5(1): 496-507.
9. Pasunon P. Evaluation of inter-rater reliability using Kappa statistics. FAA Journal. (2015); 8(1): 2-20.
10. Kanchanitanont C, Vipavakarn S, Prombutr R. The development of nursing care model for severe multiple injury in Krabi Hospital. JRTAN. (2019); 20(1): 339-50.
11. Rattanasakul N. Dangsuwan K. Development of caring system for patient with life-threatening in emergency department, Naradhiwasrajanakrindra Hospital. PNUJR. (2016); 8(2): 1-15.
12. Shatpattananunt B. Effectiveness of implementing the clinical practice guidelines for traumatic wound pain management at emergency department in middle-level hospital. JRTAN. (2017); 18(2): 101-9.
13. Akkayagorn L. Chatrkaw P. Sriratanabal P. Manasvanich B. Sa-nguansap T. Meethavorn N. et al. Definition and influencing factors of difficulty hospital discharge using focus group. Chula Med J. (2017); 61(4): 511-24.
14. Chinuntuya P. Chutitorn A.N. Factors predicting length of stay in older patients with gastrointestinal cancer undergoing surgery. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. (2016); 27(1): 29-42.