ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังของนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

มณัญชญา มัลลิกานนท์
ศรัญญา ด่านกุลประเสริฐ
รุจาภา เพชรเจริญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังของนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 1 – 6 มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 985 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังที่ออกแบบโดยผู้วิจัย มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.5 – 1วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-square, Fisher’s exact และ Mann-Whitney U นำเสนอผลการวิจัยด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามทั้งหมด 388 คน (39.4%) พบว่ามีนิสิตแพทย์ที่บริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง 187 คน (48.2%) โดยข้อมูลด้านเพศและชั้นปีที่กำลังศึกษาของนิสิตแพทย์ระหว่างกลุ่มที่บริโภคและไม่บริโภคเครื่องดื่มชูกำลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ สำหรับทัศนคติของนิสิตแพทย์ต่อเครื่องดื่มชูกำลัง พบว่ากลุ่มที่บริโภคและไม่บริโภคเครื่องดื่มชูกำลังมีทัศนคติในระดับปานกลาง (3.30 และ 2.66 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง พบว่านิสิตแพทย์ส่วนใหญ่บริโภคเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อ M-150 ความถี่ในการบริโภคอยู่ในช่วงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ครั้งต่อเดือน วัตถุประสงค์หลักของการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง คือ การอ่านหนังสือ การสอบและการพักผ่อนไม่เพียงพอ
สรุปผล: อย่างไรก็ตาม การบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังไม่ได้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติต่อผลการเรียน (GPAX/GPA) ของนิสิตแพทย์ อีกทั้งการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังในปริมาณมาก อาจเกิดพฤติกรรมเสพติดได้เช่นกัน ดังนั้นการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังให้แก่นิสิตแพทย์จึงเป็นอีกหนึ่งในองค์ประกอบของการส่งเสริมสุขภาพที่มีความสำคัญ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Sangdee C. Effects of caffeine on health. Thai J Pharmacol. 1999;21(Supp1):S43-64.
2. Prasith-thimet T and Suvarnakuta P. Energy drinks: are they really useful?. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center. 2018;35(4):415-21.
3. Dangkrajang S and Teangrangsan S. Knowledge, attitude and behavior of energy-drink intake of medical students. Thammasat Med J. 2017;17(4):574-83.
4. Grech A, Axiak S, Pace L and Fondocaro D. A survey of energy drinks consumption amongst medical students and foundation year doctors in Malta. Malta Med School Gazette. 2019;3(3):59-66.
5. Casuccio A, Bonanno V, Catalano R, Cracchiolo M, Giugno S, Sciuto V and et al. Knowledge, attitudes and practices on energy drink consumption and side effects in a cohort of medical students. Journal of Addictive Diseases, 2015;34(4):274-83.
6. Oteri, A., Salvo, F., Caputi, A.P. and Calapai, G. Intake of energy drinks in association with alcoholic beverages in a cohort of students of the School of Medicine of the University of Messina. Alcohol Clin Exp Res. 2007;31(10):1677-80.
7. Attila, S. and Cakir, B. Energy-drink consumption in college students and associated factors. Nutrition. 2011;27(3):316-22.