การศึกษาประสิทธิภาพของยาพาราเซตามอลในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำเปรียบเทียบกับการให้มอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง ในการระงับปวดหลังผ่าตัดคลอด

Main Article Content

ณัฐธนภัทร์ เวชการณ์
ณฐพร นาคน้อย
นุชจิรา พิพิชชวนชม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา :การผ่าตัดคลอด (cesarean section) เป็นหัตถการพื้นฐานทางสูตินรีเวชกรรม ความปวดหลังการผ่าตัด เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคนิคการระงับปวดหลังผ่าตัดคลอดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การให้มอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง  ซึ่งสามารถระงับปวดได้ดี แต่มีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยเช่นกัน มีการให้ยาพาราเซตามอลทางหลอดเลือดดำในการระงับปวดหลังผ่าตัดมากขึ้น เนื่องจากสามารถระงับปวดหลังผ่าตัดได้ดี ลดการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม Opioid  ทำให้ผลข้างเคียงจากยาน้อยลง


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการระงับปวดหลังผ่าตัดและผลข้างเคียงระหว่างการให้ยาพาราเซตามอลทางหลอดเลือดดำ เปรียบเทียบกับการให้มอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง ในหญิงผ่าตัดคลอด


วิธีการศึกษา :งานวิจัยเชิงรักษา แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ประเมินแบบปกปิดทั้งสองฝ่าย (double-blinded, randomized controlled trial) ในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด 160 ราย ที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร ตั้งแต่ 1 มิถุนายนถึง 31 สิงหาคม 2563 สุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 80 คน กลุ่มเปรียบเทียบได้แก่ การระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชาร่วมกับมอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลัง และให้น้ำเกลือ (Normal Saline Solution- NSS) 100 มิลลิลิตร ทางหลอดเลือดดำทุก 6 ชั่วโมง และ กลุ่มศึกษา ได้แก่ การระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง และให้ยาพาราเซตามอล 1 กรัม (100 มิลลิลิตร) ทางหลอดเลือดดำทุก 6 ชั่วโมง เก็บข้อมูลคะแนนความปวด (Visual Analogue Scale- VAS) ขณะพักและขณะเคลื่อนไหว ที่ 1,6,12 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด บันทึกปริมาณยาแก้ปวด Tramadol และ Pethidine ที่ได้รับเพิ่มเติมหลังผ่าตัด และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างในเรื่องของอายุ อายุครรภ์ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกายและระยะเวลาผ่าตัด ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดขณะพักที่ 0,6,12,24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ในกลุ่มศึกษาเท่ากับ 0.01±0.11, 4.97±1.88, 4.92±1.72, 3.56±1.52 และในกลุ่มเปรียบเทียบเท่ากับ 0, 2.33±1.54, 3.31±1.68, 3.62±2.00 ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดขณะเคลื่อนไหวที่ 0,6,12,24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ในกลุ่มศึกษาเท่ากับ0.06±0.29, 6.47±2.03, 6.21±1.81, 4.8±1.7 และในกลุ่มเปรียบเทียบเท่ากับ 0, 3.83±2.13, 5.02±1.98, 5.08±2.29  ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังผ่าตัดที่1 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังผ่าตัดที่ 6 และ 12 ชั่วโมงในกลุ่มศึกษามากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)  ปริมาณ Tramadol และ Pethidine ที่ผู้ป่วยได้รับเพิ่มเติมหลังผ่าตัดในกลุ่มศึกษา มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลข้างเคียง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน คันตามตัว กลุ่มเปรียบเทียบ พบอาการคลื่นไส้อาเจียน 23% และคันตามตัว 60% แต่ไม่พบอุบัติการณ์ดังกล่าวในกลุ่มศึกษา


สรุปและข้อเสนอแนะ: ประสิทธิภาพในการระงับปวดหลังผ่าตัดคลอดของยาพาราเซตามอลในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ไม่เทียบเท่าการให้มอร์ฟีนทางไขสันหลัง ที่ 6 และ 12 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และพบอุบัติการณ์ของผลข้างเคียงในกลุ่มที่ให้มอร์ฟีนทางช่องไขสันหลังมากกว่า กลุ่มที่ได้พาราเซตามอลทางหลอดเลือดดำ ในทางปฏิบัติอาจนำพาราเซตามอลมาใช้กับผู้ป่วยที่มีประวัติการได้รับยากลุ่ม opioid ในการรักษาครั้งก่อนแล้ว เกิดผลข้างเคียงมาก โดยนำพาราเซตามอลมาใช้ร่วมกับยาแก้ปวดชนิดอื่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระงับปวดและลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น


 


คำสำคัญ: การผ่าตัดคลอด, ความปวดหลังผ่าตัด, พาราเซตามอลรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, การให้มอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เอกสารอ้างอิง
1. Ramos-Rangel GE, Ferrer-Zaccaro LE, Mojica-Manrique VL, La Rotta MG. Analgesic management during the postoperative period of cesarean section: pharmacological strategies. Rev Colomb Anestesiol. 2017; 45: 327–334.
2.ภิเศก ลุมพิกานนท์. (2020). หญิงไทยผ่าคลอดสูงอันดับ 2 ของเอเชียรองจากจีน เร่งรณรงค์ลด’ผ่าคลอด’ที่ไม่จำเป็น, สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2563.จาก. https://www.hfocus.org/content/2018/02/15385
3. Atashkhoyi, Simin & Rasouli, Sousan & Fardyazar, Zahra & Ghojazadeh, Morteza & Marandi, Pouya. Preventive Analgesia With Intravenous Paracetamol for Post-cesarean section Pain Control. Int J Women’s Health Reproduction Sci. 2014;2(3):131-137
4. USHA RANI, Kumari et al. Analgesic efficacy of intravenous paracetamol versus intravenous tramadol after caesarean section: a single blind randomized controlled study. International Journal of Reproduction, Contraception, Obstetrics and Gynecology. 2016 Dec;5(12):4285-4289
5.Glosten B. Anesthesia for Obstetrics. In : Miller RD.editor. Anesthesia, 5th ed. Philadelphia : Churchill Livingstones. 2000:2044-68
6.Jørgen B. Dahl, Inge S. Jeppesen, Henrik Jørgensen, Jørn Wetterslev, Steen Møiniche; Intraoperative and Postoperative Analgesic Efficacy and Adverse Effects of Intrathecal Opioids in Patients Undergoing Cesarean Section with Spinal Anesthesia : A Qualitative and Quantitative Systematic Review of Randomized Controlled Trials. Anesthesiology.1999;91(6):1919-27
7.Altenau B, Crisp CC, Devaiah CG, Lambers DS. Randomized controlled trial of intravenous acetaminophen for postcesarean delivery pain control. Am J Obstet Gynecol. 2017;217(3):362.e1-362.e6. 8.Paech MJ, McDonnell NJ, Sinha A, Baber C, Nathan EA. A randomised controlled trial of parecoxib, celecoxib and paracetamol as adjuncts to patient-controlled epidural analgesia after caesarean delivery. Anaesth Intensive Care. 2014;42(1):15-22.
9. PICKERING-LUTTRELL, MS, CRNA, Hazel Marie; GAYDEN, MS, CRNA, Johnny; PELLEGRINI, PHD, DNP, CRNA, Joseph.Effectiveness of Intravenous Acetaminophen Administration in the Postoperative Pain Management of the Cesarean Delivery Patient. Anesthesia eJournal 2016 Sep;4(1):43-49
10. Wilson SH, Wolf BJ, Robinson SM, Nelson C, Hebbar L. Intravenous vs Oral Acetaminophen for Analgesia After Cesarean Delivery: A Randomized Trial. Pain Med. 2019;20(8):1584-1591.
11. Ng QX, Loke W, Yeo WS, Chng KYY, Tan CH. A Meta-Analysis of the Utility of Preoperative Intravenous Paracetamol for Post-Caesarean Analgesia. Medicina (Kaunas). 2019;55(8):424.
12. Omar, A.A.A. & Issa, K.A.. Intravenous Paracetamol (Perfalgan) for analgesia after cesarean section: A double-blind randomized controlled study. Rawal Medical Journal 2011;36(4): 269-273.
13. Ozmete O, Bali C, Cok OY, et al. Preoperative paracetamol improves post-cesarean delivery pain management: a prospective, randomized, double-blind, placebo-controlled trial. J Clin Anesth. 2016;33:51-57.