ผลของการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรคคอหอยและทอนซิลอักเสบเฉียบพลันในแพทย์ใช้ทุนและแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลสามพรานจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ขัตติยา สันตยากร

บทคัดย่อ

ความเป็นมา


การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลเป็นปัญหาใหญ่ของระบบสาธารณสุข ที่ยังต้องการการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจริงจังและต่อเนื่อง โรงพยาบาลสามพรานเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด M2ได้มีการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด ร้อยละการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคทางเดินหายใจ เท่ากับ 25.34 (ข้อมูล 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 พฤศจิกายน 2562) แต่ยังไม่เคยมีการทบทวนการใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีวินิจฉัยคอหอยและทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน


วัตถุประสงค์


เปรียบเทียบร้อยละของการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคคอหอยและทอนซิลอักเสบเฉียบพลันก่อนและหลังการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน


เปรียบเทียบร้อยละของการรักษาอย่างเหมาะสมในโรคคอหอยและทอนซิลอักเสบเฉียบพลันก่อนและหลังการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน


          วิธีการศึกษา


One Group Pretest - Posttest intervention study ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสามพรานและได้รับการวินิจฉัยตาม ICD-10 ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ (inclusion criteria) ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2562 ถึง ธันวาคม 2562 และจัดให้มีการสอนแก่แพทย์ใช้ทุนและแพทย์ทั่วไปโดยแพทย์เฉพาะทางหูคอจมูกจัดการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) โดยตั้งโจทย์ จำลองสถานการณ์ และทบทวนเวชระเบียนหลังการสอน 3 เดือนตั้งแต่ มีนาคม 2563 ถึง พฤษภาคม 2563 นำเสนอด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังด้วย Fisher’s Exact test โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


          ผลการศึกษา


จากการทบทวนเวชระเบียนตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2562 ถึง ธันวาคม 2562 ผู้ป่วย 309 ราย ได้รับยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 71.8 การรักษาเหมาะสมร้อยละ 56  ทบทวนเวชระเบียนหลังการสอน 3 เดือนตั้งแต่ มีนาคม 2563 ถึง พฤษภาคม 2563 ผู้ป่วย 208 ราย ได้รับยาปฏิชีวนะร้อยละ 46.6 การรักษาเหมาะสมร้อยละ76.9 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างก่อนและหลังสอน (p < 0.01)


          สรุป


การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและจากประสบการณ์ตรงจากโจทย์ปัญหา ได้ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทจริงและสามารถนำไปใช้ได้ และพบว่าร้อยละของการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคคอหอยและทอนซิลอักเสบเฉียบพลันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. นพคุณ ธรรมธัชอารี, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ,จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์. ปริมาณและมูลค่าการสั่งยาต้านแบคทีเรียแก่ผู้ป่วยนอก ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560; 11(4): 471-480.
2. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. ใน: ชัยรัตน์ ฉายากุล, บรรณาธิการ. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลครั้งที่1: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2558.
3. Sirirussamee B. Antibiotics use behavior of people in Nakhon Pathom Province. Nakhon Pathom. Mahidol University, Institute for Population and Social Research 1997.
4. Phumas P, Limwattananont S. Health and economic impacts of antimicrobial resistant infections in Thailand. Health systems Research Institute 2012.
5. สิริวัฒน์ อายุวัฒน์. การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning): ความท้าทายของการศึกษาพยาบาลในการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(2): 15-30.
6. อานุภาพ เลขะกุล. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning).แหล่งข้อมูลด้านแพทยศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://teachingresources.psu.ac.th/document/2548/Le_Kha_Kun/PBL.pdf Barrows HS. Problem-based learning applied to medical education. Springfield: Southern Illinois University School of Medicine; 2000
7. Centor RM, Witherspoon JM, Dalton HP, Brody CE, Link K. The diagnosis of strep throat in adults in the emergency room. Med Decis Making 1981; 1: 239-46.
8. ศณิษา ตันประเสริฐ, วิสาขลัคน์ ทับทิม, ศริญญา คำอ้าย, สุปรีญา วรญาณปรีชาพงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคหวัดในโรงพยาบาลลำปาง. ลำปางเวชสาร 2562; 40(2): 1-9.
9. พิสิทธิ์ คงศักดิ์ตระกูล, หทัยกาญจน์ เชาวนพูลผล, สุภนัย ประเสริฐสุข. ประสิทธิผลของนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2562; 15(2): 106-117.
10. Bagger K, Anni BN, Volkert S, Lars B. Inappropriate antibiotic prescribing and demand for antibiotics in patients with upper respiratory tract infections is hardly different in female versus male patients as seen in primary care. Eur J Gen Pract 2015; 21(2): 1-6.
11. Thamlikitkul V, Apisitwittaya W. Implementation of clinical practice guidelines for upper respiratory infection in Thailand. Int J Infect Dis 2004; 8(1): 47-51.
12. สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ.2562. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร : บริษัทบียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์จำกัด; 2562.
13. พิสนธ์ จงตระกูล. โรคติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน. ใน: ศุภรัตน์ ชั้นประเสริฐ, บรรณาธิการ. การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในPrimary care. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพมหานคร: หจก.วนิดาการพิมพ์; 2560. 163-172.
14. นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, กัญญดา อนุวงศ์, พิสนธ์ จงตระกูล, เขมวดี ขนาบแก้ว, สมหญิง พุ่มทอง. ผลของโครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล: การนำร่องที่จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2553; 19(6): 899-911.
15. ศศิพงค์ ทิพย์รัชดาพร, สมคิด เจนกลาง. ผลลัพธ์ของการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในสถานบริการของรัฐในอำเภอพรรณานิคมจังหวัดสกลนคร. วารสารเภสัชกรรมไทย 2561; 10(2): 315-323.
16. Komasawa N, Berg B.W, Minami T. Problem-based learning for anesthesia resident operating room crisis management training. PLOS ONE 2018: 1-10.
17. Yimei Ma, Xiaoxi Lu. The effectiveness of problem-based learning in pediatric medical education in China: A meta-analysis of randomized controlled trials. Ma and Lu Medicine 2019; 98(2): 1-8.