ผลตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเต้านม

Main Article Content

สุธีรา กังวานใจ

บทคัดย่อ

ผลตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเต้านม


Mammographic and ultrasonographic findings in clinical breast pain                                           


บทคัดย่อ


ความเป็นมา:แมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมเป็นการตรวจทางรังสีที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม แต่อาการเจ็บเต้านมอย่างเดียวมักจะพบน้อยในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม การส่งตรวจทั้งแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเต้านมอย่างเดียว โดยที่ตรวจร่างกายโดยแพทย์ไม่พบก้อนและความผิดปกติอื่นๆ อาจเป็นการได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและไม่เกิดประโยชน์ทางคลินิก ดังนั้นควรมีการหาแนวทางการส่งตรวจทางรังสีที่เหมาะสม สำหรับกรณีนี้


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลตรวจ และ เปรียบเทียบความไวในการหารอยโรคระหว่างการตรวจแมมโมแกรมกับการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม ในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บเต้านมอย่างเดียว


รูปแบบการศึกษา: Diagnostic descriptive research. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา: ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไปปี จำนวน 140 คน ที่มีอาการเจ็บเต้านมและตรวจร่างกายโดยแพทย์ไม่พบก้อน ได้รับการตรวจด้วยแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมที่ ร.พ เชียงรายประชานุเคราะห์ ในช่วงเวลา 2 ปี (ตุลาคม 2558 ถึง สิงหาคม 2560 )


วิธีการวัดผล: หาจำนวนและร้อยละ ของการพบรอยโรคโดยการตรวจทั้งสองอย่าง, การพบรอยโรคโดยแมมโมแกรมอย่างเดียว, การพบรอยโรคโดยอัลตร้าซาวด์อย่างเดียว, พบรอยโรคจากการตรวจอย่างใดอย่างหนึ่ง และ ไม่พบรอยโรคทั้งสองอย่าง  เปรียบเทียบดูว่าการตรวจชนิดไหนจะสามารถหาความรอยโรคได้ดีด้วย exact probability test  และเปรียบเทียบความแตกต่างของผลตรวจในกลุ่มที่มีลักษณะตำแหน่งที่เจ็บเฉพาะที่กับกลุ่มที่เจ็บทั่วไป


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเต้านม 140 คน อายุระหว่าง 35-79 ปี ได้รับการตรวจทั้งแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ พบว่าไม่พบรอยโรค 62.85% (88 ราย) พบรอยโรค 37.25% (52 ราย) ส่วนใหญ่รอยโรคที่พบคือ ถุงน้ำ 30% (42 ราย)  ก้อนsolid nodule/hypoechoic lesion 3.75% (5 ราย)


เมื่อพิจารณาตามชนิดการตรวจพบว่า 62.8%ไม่พบรอยโรคทั้งแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์   28.57%พบรอยโรคด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างเดียว  29.28%พบรอยโรคด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์หรือแมมโมแกรมอย่างใดอย่างหนึ่ง  7.85%พบรอยโรคด้วยการตรวจทั้งสองอย่าง และมีผู้ป่วยเพียง 1 ราย(0.007%)ที่พบรอยโรคด้วยแมมโมแกรมอย่างเดียว ซึ่งในรายนี้สรุปการวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นรอยโรค แต่เป็นเพียงการกระจายเนื้อเต้านมที่ไม่เท่ากัน จากการเปรียบเทียบพบว่าอัตราการพบรอยโรคด้วยอัลตร้าซาวด์เต้านมอย่างเดียว ไม่มีความแตกต่างจากอัตราการพบรอยโรคด้วยการตรวจอย่างใดอย่างหนึ่งรวมกันอย่างมีนัยสำคัญ


สรุปและข้อเสนอแนะ: ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเต้านมอย่างเดียวและตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติอย่างอื่น เมื่อตรวจด้วยแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ ส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบรอยโรค บางส่วนที่พบรอยโรคจะตรวจเจอด้วยอัลตร้าซาวด์ทั้งหมด  เมื่อคำนึงถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ทางคลินิก อัลตร้าซาวด์เหมาะที่จะใช้เป็นการตรวจขั้นต้นสำหรับอาการเจ็บเต้านมอย่างเดียว


คำสำคัญ: เจ็บเต้านม แมมโมแกรม อัลตร้าซาวด์


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Nationalbreastcancer.org[internet].Dallas: National Breast Cancer Foundation, Inc; 2019;[Cited 2020 Sep 5]. Available from: https://www.nationalbreastcancer.org/breast-pain/
2. Smith RL, Pruthi S, Fitzpatrick LA. Evaluation and management of breast pain.
Mayo Clin Proc. 2004 Mar;79(3):353-72.
3. Howard MB, Battaglia T, Prout M, Freund K. The effect of imaging on the clinical management of breast pain. J Gen Intern Med. 2012 Jul;27(7):817-24.
4. Balleyguier C, Arfi-Rouche J, Haddag L, Canale S, Delaloge S, Dromain C.
Breast pain and imaging. Diagn Interv Imaging. 2015 Oct;96(10):1009-16.
5. Tumyan L, Hoyt AC, Bassett LW. Negative predictive value of sonography and
mammography in patients with focal breast pain. Breast J. 2005 Sep-Oct;11(5):333
6. Noroozian M, Stein LF, Gaetke-Udager K, Helvie MA. Long-term clinical outcomes in women with breast pain in the absence of additional clinical findings: mammography remains indicated. Breast Cancer Res Treat. 2015 Jan;149(2):417-24.