การเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน ภายหลังการใช้ระบบการดูแลแบบ 7 ASPECTS OF CARE ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกมดลูก หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

เสาวลักษณ์ เกษมสุข

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา    เนื้องอกมดลูกเป็นโรคที่พบบ่อย ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 25 ของผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป และเป็น 1 ใน 5 อันดับโรคของผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรมที่รับการรักษาโดยการผ่าตัด  เพื่อให้การดูแลมีคุณภาพ ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนการให้การพยาบาลที่มีคุณภาพจำเป็นต้องมีมาตรฐานที่นำมาใช้เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นสภาการพยาบาลจึงได้กำหนดระบบการดูแลแบบ 7 Aspects of care ไว้เป็นหน้าที่หลักทางคลินิกที่ใช้เป็นแนวทางช่วยในการตัดสินใจในการปฏิบัติสำหรับวิชาชีพพยาบาล หรือเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างความรู้กับการปฏิบัติ


วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน ในกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกมดลูก ภายหลังการใช้ระบบการดูแลแบบ 7 Aspects of care


วิธีการศึกษา  เป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย ในผู้ป่วยเนื้องอกมดลูกที่ได้รับการผ่าตัด
(กลุ่มควบคุม 92 ราย กลุ่มศึกษา 92 ราย) ในช่วงเดือน สิงหาคม 2559  ถึงพฤษภาคม พ.ศ.2560 โดยผู้ป่วยในช่วงมกราคม ถึงพฤษภาคม 2560 เป็นผู้ป่วยเนื้องอกในมดลูกที่ได้รับการผ่าตัดที่ใช้ระบบการดูแลแบบ
7 Aspects of care รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก วิเคราะห์เปรียบเทียบกลุ่มด้วยสถิติ exact probability test และ t-test เป็นการเปรียบเทียบต่างช่วงเวลา


ผลการศึกษา  พบว่ากลุ่มศึกษาเกิดภาวะแทรกซ้อน และมีจำนวนวันนอนน้อยกว่ากลุ่มควบคุม คือ แผลติดเชื้อ
เป็นหนองร้อยละ 1.09  ไม่มีแผลแยก ไม่มีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ จำนวนวันนอนเฉลี่ย ร้อยละ
3.73  และไม่มีการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน เทียบกับกลุ่มควบคุม พบแผลติดเชื้อเป็นหนอง ร้อยละ 3.26  แผลแยกร้อยละ 1.09  ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 2.17 จำนวนวันนอนเฉลี่ยร้อยละ
3.97  และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน ร้อยละ  2.17


สรุปผลและเสนอแนะ    การใช้ระบบการดูแลแบบ 7 Aspects of care สามารถลดภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วันได้ ดังนั้นพยาบาลจึงควรมีแนวทางการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกันตั้งแต่แรกรับไว้ในการรักษา และมีการประเมินผลซ้ำอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลจนจำหน่ายเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีแก่ผู้ป่วยจึงควรพัฒนาให้ทุกหอผู้ป่วยใน นำหน้าที่หลักทางคลินิก 7 Aspects of care ไปใช้ให้เป็นงานประจำ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

REFERENCES
1. ธีระ ทองสง,จตุพล ศรีสมบูรณ์,อภิชาต โอฬารรัตนชัย. นรีเวชวิทยาฉบับสอบบอร์ด.พิมพ์ครั้งที่2 กรุงเทพฯ : พี.บี.ฟอเรนบุ๊คส์เซนเตอร์ ; 2539.
2. Blake, R.E. Leiomyomata uteri: hormonal and molecular determinants of growth. The Journal of Natl Med Assoc. Obstet [serial online] 2007 [cited 2007 Oct];99(10):1170-1184. Available from:http:// www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2574407
3. รายงานศูนย์ข้อมูล.ข้อมูลสถิติ. เชียงราย: งานเวชระเบียน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์.;2559.
4. รายงานศูนย์ข้อมูล. ข้อมูลสถิติโรค 10 ลำดับ PCT สูติ-นรีเวชกรรม. เชียงราย: งานเวชระเบียน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์.; 2559.
5. มานะ โรจนวุฒานนท์. Leiomyoma .ใน วิญญู มิตรานันท์(บรรณาธิการ). พยาธิกายวิภาคตามระบบ.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : โอ.เอ.พริ้นติ้งเฮาส์; 2538 : 526.
6. Orozco, L.J., Salazar, A., Clarke, J., & Tristan, M. Hysterectomy versus hysterectomy plus oophorectomy for premenopausal women. Cochrane Database Syst Rev. 2008 Jul 16;(3):.from:
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18646133
7. กองการพยาบาล.การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล: งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน. กรุงเทพ: สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข; 2544.