Effectiveness and safety of Pegylated-Interferon/Ribavirin and direct acting antiretroviral: DAA treatment in chronic hepatitis C in Chiangrai Prachanukroh hospital
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้องรังด้วยยาเพ็คกิเลตเต็ด อินเตอร์ฟิรอนและไรบาไวริน และยารักษาไวรัสตับอักเสบซีชนิดใหม่ (direct acting antiretroviral: DAA) ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
โชติพงษ์ ศิริพิพัฒนมงคล, พ.บ.วว.อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
ชนกูร ศรีณรงค์, พ.บ.วว.อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
พัชรียา อาษา พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
บทคัดย่อ
ที่มา : ไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังเป็นภัยเงียบที่นำไปสู่การเป็น ตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตของคนเชียงรายเป็นจำนวนมากถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ปัจจุบันมียาที่สามารถใช้รักษาไวรัสตับอักเสบซีได้อย่างมีประสิทธิภาพหลายขนาน และเริ่มมีการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน แต่ยังไม่มีข้อมูลถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษา
จุดประสงค์ ศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาไวรัสตับอักเสบซีในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
วิธีการศึกษา : ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีย้อนหลังที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 มกราคม 2560 ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐาน โรคร่วม จำนวนและสายพันธุ์ไวรัสตับอักเสบซี สูตรยา ผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อนได้รับการบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลอิเลกทรอนิค และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Stata ver.121se ในการวิเคราะห์ทางสถิติโดยเลือกใช้วิธีทางสถิติที่เหมาสม
ผลการศึกษา มีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีจำนวนทั้งหมด 201 รายในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา มีเพียง 179 รายที่สามารถติดตามข้อมูลได้จนจบการศึกษา อายุเฉลี่ย 47.5±9.12ปี เป็นเพศชาย 60.3% มีติดเชื้อไวรัสเอชไอวีร่วมด้วย50.28% เจอภาวะตับแข็ง 49.7%, ร้อยละ 94 เป็นการรักษาครั้งแรก, ตรวจเจอไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ที่ 1a(25.7%), 1b(12.8%), 3(42.5%), และ 6(18.99%), มีจำนวนไวรัสเฉลี่ย 5.95(5.34,6.35)log10 ยูนิต/มล ผู้ป่วยได้รับยาสูตร Pegylated interferon+ribavirin ร้อยละ58.6 DAA ร้อยละ 41.3 ผลการรักษา หายขาด140(78.77%) กลับเป็นซ้ำ 18(10%) ไม่ตอบสนอง(6.7%) ขาดการรักษา3(1.68%) ทนผลข้างเคียงไม่ได้3(1.68%) และเสียชีวิต 2(1.12%) ราย ภาวะแทรกซ้อนพบ ซีดมากที่สุด 29.9% เจอไตวายเฉียบพลัน 2ราย ไทรอยด์เป็นพิษ 1 ราย มะเร็งตับปฐมภูมิ 1ราย มะเร็งลำไส้เล็ก 1 ราย การวิเคราะห์แบบพหุตัวแปรพบว่า การไม่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีร่วมด้วย เป็นไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ที่3 ค่าเม็ดเลือดขาวก่อนรักษาน้อยกว่า 6,000เซลล์/มม3 อายุที่น้อยกว่า ดัชนีมวลกายที่น้อยกว่าและขนาดยา ribavirin ที่สูงกว่า สัมพันธ์กับโอกาสหายขาดจากไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังเพิ่มขึ้น
สรุป : การรักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ มีประสิทธิภาพที่ดีมาก ภาวะแทรกซ้อน และความปลอดภัยอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
คำรหัส: ผลการรักษา, ไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง, เชียงราย
Article Details
References
2. van der Meer AJ, Veldt BJ, Feld JJ, Wedemeyer H, Dufour JF, Lammert F, et al. Association between sustained virological response and all-cause mortality among patients with chronic hepatitis C and advanced hepatic fibrosis. JAMA. 2012 Dec 26;308(24):2584-93.
3.Zhou J, Dore GJ, Zhang F et al. Hepatitis B and C virus coinfection in The TREAT Asia HIV Observational Database. J Gastroenterol Hepatol 2007; 22: 1510-8.
4.Sungkanuparph S, Vibhagool A, Manosuthi W et al. Prevalence of hepatitis B virus and hepatitis C virus co-infection with human immunodeficiency virus in Thai patients: a tertiary-care-based study. J Med Assoc Thai 2004; 87: 1349-54.
5.Bruno S, Maisonneuve P. Response to the letter regarding the manuscript "Survival of patients with HCV cirrhosis and sustained virologic response is similar to the general population". J Hepatol. 2017 Apr 20.
6.Messina JP, Humphreys I, Flaxman A, Brown A, Cooke GS, Pybus OG, et al. Global distribution and prevalence of hepatitis C virus genotypes. Hepatology. 2015 Jan;61(1):77-87.
7.Garten RJ, Zhang J, Lai S et al. Coinfection with HIV and hepatitis C virus among injection drug users in southern China. Clin Infect Dis 2005; 41 Suppl 1: S18-24.
8.รายงานจากกองระบาดวิทยาปี พ.ศ. 2551. Annual Epidemiological Surveillance Report 2008, ISSN 0857-6521. http://epid.moph.go.th
9.AASLD-IDSA HCV Guidance Panel. Hepatitis C Guidance 2018 Update: AASLD-IDSA Recommendations for Testing, Managing, and Treating Hepatitis C Virus Infection. Clinical Infectious Diseases, Volume 67, Issue 10, 15 November 2018, Pages 1477–1492, https://doi.org/10.1093/cid/ciy585
10.European Association for the Study of the Liver. EASL Recommendations on Treatment of Hepatitis C 2015, J Hepatol. 2017 Jan;66(1):153-194.
11.Graham CS, Baden LR, Yu E et al. Influence of human immunodeficiency virus infection on the course of hepatitis C virus infection: a meta-analysis. Clin Infect Dis 2001; 33: 562-9.
12.Benhamou Y, Bochet M, Di Martino V et al. Liver fibrosis progression in human immunodeficiency virus and hepatitis C virus coinfected patients. The Multivirc Group. Hepatology 1999; 30: 1054-8.
13.Mohsen AH, Easterbrook PJ, Taylor C et al. Impact of human immunodeficiency virus (HIV) infection on the progression of liver fibrosis in hepatitis C virus infected patients. Gut 2003; 52: 1035-40.
14.Soto B, Sanchez-Quijano A, Rodrigo L et al. Human immunodeficiency virus infection modifies the natural history of chronic parenterally-acquired hepatitis C with an unusually rapid progression to cirrhosis. J Hepatol 1997; 26: 1-5.
15.Puoti M, Bruno R, Soriano V et al. Hepatocellular carcinoma in HIV-infected patients: epidemiological features, clinical presentation and outcome. AIDS 2004; 18: 2285-93.
16.Amin J, Kaye M, Skidmore S et al. HIV and hepatitis C coinfection within the CAESAR study. HIV Med 2004; 5: 174-9.
17.Rockstroh JK, Mocroft A, Soriano V et al. Influence of hepatitis C virus infection on HIV-1 disease progression and response to highly active antiretroviral therapy. J Infect Dis 2005; 192: 992-1002.
18.Law WP, Dore GJ, Duncombe CJ et al. Risk of severe hepatotoxicity associated with antiretroviral therapy in the HIV-NAT Cohort, Thailand, 1996-2001. Aids 2003; 17: 2191-9.
19.Qurishi N, Kreuzberg C, Luchters G et al. Effect of antiretroviral therapy on liver-related mortality in patients with HIV and hepatitis C virus coinfection. Lancet 2003; 362: 1708-13.
20.Chung RT, Andersen J, Volberding P et al. Peginterferon Alfa-2a plus ribavirin versus interferon alfa-2a plus ribavirin for chronic hepatitis C in HIV-coinfected persons. N Engl J Med 2004; 351: 451-9.
21.Carrat F, Bani-Sadr F, Pol S et al. Pegylated interferon alfa-2b vs standard interferon alfa-2b, plus ribavirin, for chronic hepatitis C in HIV-infected patients: a randomized controlled trial. JAMA 2004; 292: 2839-48.
22.Hoofnagle JH, Seeff LB. Peginterferon and ribavirin for chronic hepatitis C. N Engl J Med 2006;355:2444-51.
23.Wasitthankasem R, Vongpunsawad S, Siripon N, Suya C, Chulothok P, Chaiear K, et al. Genotypic distribution of hepatitis C virus in Thailand and Southeast Asia. PLoS One. 2015;10(5):e0126764.
24.Kanistanon D, Neelamek M, Dharakul T et al. Genotypic distribution of hepatitis C virus in different regions of Thailand. J Clin Microbiol 1997; 35: 1772-6.
25.เสรีภาพ แซ่อึ้ง. ผลการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีด้วยสูตรยา Pegylated interferon และ ribavirin ในโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี 2556-2558. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 เม.ย.- มิ.ย. 2560:223-233
26.Smolders EJ, Thammajaruk N, de Kanter CTMM, Colbers A, Chaiyahong P, Cuprasitrut T, Chittmittraprap S, Apornpong T, Khemnark S, Tangkijvanich P, Burger DM, Avihingsanon A. Peg-interferon and ribavirin treatment in HIV/HCV co-infected patients in Thailand: efficacy, safety and pharmacokinetics.Trop Med Int Health. 2018 Mar;23(3):295-305.
27.Watcharasak Chotiyaputta. Uayporn Kaosombatwattana. N. Chamroonkul. Chalermrat Bunchorntavakul. K. Seansawat Efficacy of pegylated interferon and ribavirin for the treatment of chronic hepatitis C, genotype 3 patients in Thailand. J Med Assoc Thai 2018; 101(4):127