The Palmar-Plantar Reaction Streptococcus pneumoniae
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยชายไทยคู่ อายุ 40 ปี น้ำหนัก 58 กิโลกรัม ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปฏิเสธโรคประจำตัวหรือแพ้ยา มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์ตามเทศกาล ไม่สูบบุหรี่ ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลเวียงป่าเป้า มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2561
6 วันก่อนมาโรงพยาบาล ไข้ หายใจเหนื่อย ไอมีเสมหะ อ่อนเพลีย ทานข้าวไม่ได้ ไม่บวม นอนราบได้ วันนี้มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจเหนื่อยมากขึ้น จึงไปที่ รพ.เวียงป่าเป้า การรักษาที่ให้ไว้ ceftriaxone 2 gm iv stat หลังจากนั้นแพทย์ส่งตัวผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ แพทย์ให้การรักษาด้วยยา ceftriaxone 2 gm iv od, clindamycin 900 mg iv q 8 hr หลังจากได้รับยา antibiotic ไป 1 วัน (17 มีนาคม 2561) ไข้ผู้ป่วยลงดี V/S: T 36 ºC RR 24 bpm PR 122 bpm BP 121/68 mmHg O2sat 98% จึงส่งตัวผู้ป่วยกลับไปรับการรักษาต่อที่ รพ.เวียงป่าเป้า เพื่อให้ยาฉีด ceftriaxone 2 gm iv od จนครบ 14 วัน และยาอื่นดังต่อไปนี้ vitamin B complex 1x3 pc, folic acid (5) 1x1 pc, thiamine 100 mg iv od x 3 วัน, dextromethorphan (15) 1x3 pc, paracetamol (500) 1 tab oral prn q 4-6 hr, lorazepam (0.5) 1x1 hs ระหว่างให้ยาที่โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า ผู้ป่วยยังมีไข้อยู่ทุกวัน ICD fluctuation ระบายหนองออกมาวันละ 300-400 ml
21 มีนาคม 2561 โรงพยาบาลเวียงป่าเป้าส่งผู้ป่วยกลับมารักษาต่อที่โรงพยาลเชียงรายประชานุเคราะห์ แพทย์พบว่าผู้ป่วยมีฝ่ามือฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างมีหนังแข็งพองขึ้นและลอก แต่ไม่มีอาการปวดบวมแดงร้อน จึงส่งปรึกษาเภสัชกรเรื่องสงสัยผู้ป่วยแพ้ยาแบบ Steven-Johnson Syndrome (SJS) และ Toxic Epidermal Necrosis (TEN) เภสัชกรได้ประเมินลักษณะรอยโรคตามฝ่ามือฝ่าเท้าของผู้ป่วยแล้วพบว่าอาการดังกล่าวไม่สอดคล้องกับลักษณะของชนิดผื่นแพ้ยา และนอกจากนี้รายการยาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งหมดไม่พบอุบัติการณ์ของ Palmar-Plantar Reaction เภสัชกรนึกถึงจากสาเหตุอื่น อาทิเช่น Infection หรือ other disease (H/C ที่โรงพยาบาลเวียงป่าเป้าขึ้นเชื้อ S. pneumoniae) แพทย์ได้ลงความเห็นถึงอาการดังกล่าว สงสัยสาเหตุมาจาก toxin ของเชื้อ Streptococcus pneumoniae จึงได้พิจารณาเปลี่ยนการรักษาเป็น Tazocin 4.5 gm iv q 6 hr, N-acetylcysteine (100) 2x3 pc, 0.02% TA cream apply lesion bid และมะขามป้อมจิบแก้ไอเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอของผู้ป่วย พบว่าหลังจากให้การรักษาด้วยยาดังกล่าวไปประมาณ 10 วัน ผิวหนังบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าของผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติ สามารถถอดสาย ICD ได้ จากนั้นพิจารณาเปลี่ยนยา antibiotic เป็นแบบกิน Augmentin (1 gm) 1x2 pc (ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน ถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 อาการของผู้ป่วยหายเป็นปกติหายเป็นปกติ