ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา
ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (Sepsis) เป็นภาวะที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ปัจจุบันมีการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ การประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำให้มีอัตราการเสียชีวิตลดลง
วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติและคุณภาพด้านการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต
วิธีการศึกษา
เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนกันยายน 2560 จำนวน 246 ราย เปรียบเทียบก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ คือ ช่วงตุลาคม 2559 ถึงมีนาคม 2560 และเมษายน 2560 ถึงกันยายน 2560 รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วย แบบบันทึกข้อมูลการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ Chi-square test, Fisher Exact test และ Independent t test
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต 246 ราย แบ่งเป็นกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติ 85 ราย และกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติ 161 ราย พบว่า อัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตลดลงจากร้อยละ 28.2 เป็นร้อยละ 21.1 โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่อัตราการส่งเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ และอัตราการได้รับยาปฏิชีวนะ ภายใน 1 ชั่วโมงหลังได้รับการวินิจฉัยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมทั้งอัตราการได้รับสารน้ำ 30 ml/kg ใน 1 ชั่วโมงแรก และอัตราการดูแลแบบภาวะวิกฤตภายใน 3 ชั่วโมงลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
การใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้แต่ผลลัพธ์ด้านกระบวนการปฏิบัติกลับลดลง บ่งชี้ว่าการดูแลตามแนวปฏิบัติยังไม่สมบูรณ์ตามเป้าหมายซึ่งต้องพัฒนาต่อไป
Article Details
References
2.Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, et al; Surviving Sepsis Campaign Guidelines Committee Including the Pediatric Subgroup. Surviving Sepsis Campaign: international guidelines for management of severe sepsis and septic shock: 2012. Crit Care Med. 2013; 41(2): 580-637.
3.Inspection Guideline of Public Health Fiscal Year 2018. Inspection Division Ministry of Public Health.2018; 448-459.
4.Rhodes A,LE,W,MM, Antonelli M,R6, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016. Intensive care medicine. 2017; 43(3): 304-377.
5.Singer M, Deutschman CS, Seymour CW. Manu;, et al. The Third International Concensus Definitions for Sepsis and Septic Shock (Sepsis-3). JAMA. 2016; 315(8): 801-810.
6. Wang YA, Fang CC, Chen CS, Tsai HS. Periarrest Modified Early Warning Score (MEWS) predicts
the outcome of in-hospital cardiac arrest. J Formos Med Assoc. 2016; 115(2): 76-82.
7.Champunot R, Permpikul C, Patjanasoontorn B. Severe sepsis and Septic shock Guideline (draft) 2015. The Thai society of critical care medicine.
8.Thiemsuwan Y, Malahom O, Yindesuk T, Kwanchang P, Prasertsri N. The Development
Caring System of Critical Sepsis Patients by Case Management at Sunprasithtiprasong Hospital,Ubon Ratchathani. Journal of Nursing and Health Care. 2017; 35(1): 184-193.
9. Mahantassanapong C. Outcome of the Surin Sepsis Treatment Protocol in Sepsis Management. Srinagarind Med J. 2012; 27(4): 332-339.
10.Kowtrakool N. Effects of Using a Case Management System to improve the quality of care for the Sepsis Patients in Sakaeo Crown Prince Hospital. Thai Journal of Cardio Thoracic Nursing. 2014; 25(2): 120-134.
11.Nueng-na-suwan W, Normkusol J, Thongjam R, Panaput T. Development of the Nursing Service System for Patients with Severe Sepsis. Journal of Nursing and Health Care. 2014; 32(2): 25-36.
12.Chairatana P, Tudsapornpitakul S. The Effectiveness of Nursing Care Model for Sepsis Patients. Journal of Nursing and Health Care. 2017; 35(3): 224-231.
13.Amphon K, Bunyoprakarn C, Sinkincharoen P. The Outcome of the Development of the Patients with Septicemia, Prapokklao Hospital.J prapokklao Hosp Clin Med Educat Center. 2017; 34(3): 222-236.
14.Jeffery AD, Mutsch KS, Knapp L. Knowledge and recognition of systemic inflammatory response syndrome and sepsis among pediatric nurses. Pediatric Nursing. 2014; 40(6): 271-278.
15.Chafin DB, Trzeciak S, Likourezos A, Baumann BM, Dellinger RP. Impact of delayed transfer of
critically ill patients from the emergency department to the intensive care unit. Crit Care Med. 2007; 35: 1477-83.