การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์การเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับอาเซียน โดยใช้ CIPP Model

ผู้แต่ง

  • นงณภัทร รุ่งเนย วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ดวงหทัย ยอดทอง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เพ็ญแข ดิษฐบรรจง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จินต์ทิพา ศิริกุลวิวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การประเมินผล , แผนกลยุทธ์, แบบจำลองซิปโมเดล

บทคัดย่อ

   การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ตามวิสัยทัศน์การเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับอาเซียน และศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางพัฒนา ใช้กรอบแนวคิดการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (CIPP Model) เป็นแนวทางในการวิจัย ประกอบด้วย การประเมินด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่าง 60 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารวิทยาลัย 17 คน และผู้ปฏิบัติการ 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสอบ ถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

   ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์โดยใช้ CIPP model พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการ (M = 4.17, SD =.45) ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า (M = 3.96, SD = .51) ผลลัพธ์การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 85.71 ปัญหาอุปสรรค คือ จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ ระบบบริหารจัดการไม่คล่องตัว ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่มีประสิทธิภาพ บุคลากรและนักศึกษายังไม่พร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แนวทางพัฒนา คือ วิเคราะห์อัตรากำลังและภาระงานของบุคลากร  พัฒนาระบบบริหารจัดการและเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพสูง พัฒนาศักยภาพบุคลากรและนักศึกษาให้พร้อมทั้งความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการปฏิบัติงาน ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรและระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาให้ตอบสนองต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Author Biography

นงณภัทร รุ่งเนย, วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

ฉันเป็นอาจารย์พยาบาล

References

กรรณิการ์ พะชำนิ และสุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. (2556). การประเมินกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 1(2), 55-71.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์ประเมินผลการนำแผนยุทธศาสตร์กรมพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560-2564 ไปสู่การปฏิบัติ ระยะต้นแผน. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

จุติพร ฉิมพาลี และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). ความพร้อมของการจัดการศึกษาในหลักสูตรเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(2), 502-518.

เชษฐา มุหะหมัด และคณะ. (2558). การรับรู้และการปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 7(1), 101-112.

ดลนพร วราโพธิ์, รัฐพล เย็นใจมา, นัยนา เกิดวิชัย และบุญทัน ดอกไธสง. (2562). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 223-239.

ทรรศนีย์ คีรีศรี. (2560). การเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษสู่ประชาคมอาเซียนของอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสารศีกษาศาสตร มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(1), 114-127.

นันทพัทธ์ ธีระวัฒนานนท์. (2563). การประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 6(1), 90-107.

พรทิวา คงคุณ. (2558). ความรู้ การรับรู้ผลกระทบ และแนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 27-38.

ไพรัช บวรสมพงษ์, สมศรี ศิริขวัญชัย และพรธิดา วิเศษศิลปานนท์. (2555). รายงานการประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2559. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. สืบค้นจาก http://kbphpp.nationalhealth.or.th/handle/123456789/3383

ภัชลดา สุวรรณนวล. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์. ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

วรรณพันธ์ุ อ่อนแย้ม. (2558). การรับรู้แผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลของพนักงานระดับปฏิบัติการ. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 2(2), 65-76.

วรานิษฐ์ ลำใย, เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล และผ่องพรรณ ภะโว. (2563). การประเมินแผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ (2554-2563). วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 17(1), 62-78.

ศุภัครจิรา พรหมสุวิชา, ธนวัฒน์ พิมลจินดา และฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค. (2557). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 137-150.

สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2560-2564. สถาบันพระบรมราชชนก.

สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การประเมินผลครึ่งแผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ พ.ศ. 2554-2558. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Abraham, S. C. (Ed.). (2012). Strategic planning: A practical guide for competitive success. Emerald Group Publishing.

Aldehayyat, J., & Al Khattab, A. (2013). Strategic planning and organizational effectiveness in Jordanian hotels. International Journal of Business and Management, 8(1), 11-25.

Ansoff, H. I., Kipley, D., Lewis, A. O., Helm-Stevens, R., & Ansoff, R. (2018). Implanting strategic management (3rd ed). Palgrave Macmillan.

Astin, A. W. (2012). Assessment for excellence: The philosophy and practice of assessment and evaluation in higher education. Rowman & Littlefield Publishers.

Best, J. W. & Kahn, J.V. (2006). Research in Education (10th ed.). Pearson Education.

Ferreira, M. R., & Proença, J. F. (2015). Strategic planning and organizational effectiveness in social service organizations in Portugal. Management: Journal of Contemporary Management Issues, 20(2), 1-21.

Gidey, E., Jilcha, K., Beshah, B., & Kitaw, D. (2014). The plan-do-check-act cycle of value addition. Industrial Engineering & Management, 3(124), 2169-0316.

Heesen, B. (2012). Effective strategy execution: Improving performance with business intelligence (2nd eds). Springer-Verlag.

Hinton, K. E. (2012). A practical guide to strategic planning in higher education. Society for College and University Planning.

Khalifa, A. S. (2021). Strategy, nonstrategy and no strategy. Journal of Strategy and Management, 14(1), 35-49. https://doi.org/10.1108/JSMA-04-2020-0092

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30, 607-610.

Mahazril‘Aini, Y., Hafizah, H. A. K., & Zuraini, Y. (2012). Factors affecting cooperatives’ performance in relation to strategic planning and members’ participation. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 65, 100-105.

Melnyk, S. A., Bititci, U., Platts, K., Tobias, J., & Andersen, B. (2014). Is performance measurement and management fit for the future?. Management accounting research, 25(2), 173-186.

Patel, P. M., & Deshpande, V. A. (2015). Application of plan-do-check-act cycle for quality and productivity improvement-A review. Studies, 2(6), 23-34.

Safari, M., & Mazdeh, M. Z. (2018). A Conceptual Framework of Strategy Cascading in the Mission-Based Organizations: A State-of-the-Art Review and Practical Template. International Letters of Social and Humanistic Sciences, 83, 1-10.

Schaefer, T., & Guenther, T. (2016). Exploring strategic planning outcomes: the influential role of top versus middle management participation. Journal of Management Control, 27(2), 205-249.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2012). Systematic evaluation: A self-instructional guide to theory and practice (Vol. 8). Springer Science & Business Media.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-09 — Updated on 2022-06-09

Versions