ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งอดทนเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ FACTORS RELATED TO HEALTH RELATED HARDINESS AMONG ELDERLY WITH CORONARY ARTERY DISEASE

ผู้แต่ง

  • กอบกานต์ สวัสดิรักษ์
  • วารี กังใจ
  • ชมนาด สุ่มเงิน

คำสำคัญ:

ความเข้มแข็งอดทนเกี่ยวกับสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, health related hardiness, elderly, coronary artery disease

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแข็งอดทนเกี่ยวกับสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
ความเข้มแข็งอดทนเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้แก่ ระยะเวลาการเจ็บป่วย การประเมิน
ความเครียด ความหวัง และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจ????ำนวน 100 รายได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคหัวใจ แผนก
อายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความเครียด ความหวัง การสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งอดทนเกี่ยวกับสุขภาพ
ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83, .80, .80 และ .80 ตามล????ำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีความเข้มแข็งอดทนเกี่ยวกับสุขภาพอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 129.48 (SD = 8.92) ความหวังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มแข็งอดทนเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระดับปานกลาง (r = .489) อย่างมีนัยส????ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนระยะเวลาการเจ็บป่วยการประเมินความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งอดทนเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรส่งเสริมความเข้มแข็งอดทนเกี่ยวกับสุขภาพ โดยการสร้างเสริมความหวังให้กับผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

Abstract
      The purpose of this research was to study health related hardiness among the
elderly with coronary artery disease and to test its relationship with related factors including duration of illness, stress appraisal, hope, and social support. One hundred elderly with coronary artery disease from the cardiovascular clinic of Buddhasothorn hospital were selected using simple random sampling technique. The instruments in an interview format included stress appraisal scale, Herth Hope Index, social support, and health related hardiness scales with reliabilities of .83, .80, .80, and .80 respectively. Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation were employed to analyze the data.
The results indicated that the elderly with coronary artery disease had high level of health related hardiness (M = 128.49, SD = 8.92). There was a positive significant correlation at moderate level between hope and health related hardiness (r = .489, p<.01), while
duration of illness, stress appraisal, and social support did not correlate with health related hardiness.

    Findings from the study suggested that nurses and health care providers should
develop a program or intervention aimed at promoting health related hardiness in elderly with coronary artery disease through the enhancement of their hope.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย