แบบจำลองเชิงสาเหตุของความผาสุกของย่า/ยายที่เลี้ยงหลานจากแม่วัยรุ่น A CAUSAL MODEL OF WELL-BEING AMONG GRANDMOTHERS RAISING GRANDCHILDREN OF THEIR ADOLESCENT DAUGTHERS

ผู้แต่ง

  • รัศมี ศรีนนท์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม

คำสำคัญ:

ความผาสุกของย่า/ยาย, ภาระในการดูแล, ความเครียดในบทบาท, แหล่งสนับสนุนทางสังคม, well-being of grandmothers, caregiver appraisal, parenting stress/social support

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของแหล่งสนับสนุนทางสังคม  ความเครียดในบทบาท ภาระในการดูแล ที่มีต่อความผาสุกของย่า/ยายที่เลี้ยงหลานจากแม่วัยรุ่น โดยกรอบแนวคิดในวิจัยครั้งนี้พัฒนาขึ้นมาจาก stress process model และการทบทวนวรรณกรรม กลุ่มตัวอย่างคือย่า/ยายที่เลี้ยงหลานจากแม่วัยรุ่น จำนวน 440 คน ได้รับการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและได้ตอบแบบสอบถามจำนวน 4 ชุด ได้แก่ แหล่งสนับสนุนทางสังคม  ความเครียดในบทบาท ภาระในการดูแล ความผาสุกทดสอบโมเดลสมมุติฐานโดยใช้สถิติโมเดลสมการโครงสร้าง

               ผลการศึกษาพบว่าโมเดลสมมุติฐานการวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และสามารถ อธิบายความแปรปรวนของความผาสุกของย่า/ยายที่เลี้ยงหลานจากแม่วัยรุ่นได้ถึง 69 เปอร์เซ็นต์ โดยพบว่า แหล่งสนับสนุนทางสังคมมีอิทธิพลโดยตรงต่อความผาสุกและมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อความผาสุกโดยส่งผ่าน ภาระในการดูแล ความเครียดในบทบาทมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อความผาสุกโดยส่งผ่าน ภาระในการดูแล โมเดลเชิงโครงสร้างนี้ใช้เป็นแนวทางในการทำโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกของย่า/ยายที่เลี้ยงหลานจากแม่วัยรุ่นโดยให้ความสำคัญกับแหล่งสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวและญาติ

 

Abstract

               The purposes of this study were to examine the causal relationship among social support, parenting stress, caregiver appraisals, and well-being among grandmothers raising a grandchild of their adolescent daughter and to identify the best predictive model for caregiver stress process model as well-being in caregiving grandmothers raising grandchild of adolescent daughters. The caregiver stress process model of Pearlin et al. (1999) was used to guide this study. Multistage sampling was employed to recruit 440 grandmothers from 5 districts in Ratchaburi province. Grandmothers were asked to complete 4 questionnaires including the Parenting Stress Index (PSI)/ Short Form, the Caregiver Reaction Assessment (CRA), the Social Support Questionnaire (SSQ) Part II and the Short Form Health Screen Questionnaire (SF-36). Data were analyzed by descriptive statistics and Structural Equation Model (SEM) via Analysis of Moment Structure (AMOS).

               The results of the study revealed that the final modified model fitted the empirical data (c2/ df = 1.855, RMR = .021, GFI = .960, AGFI = .928, CFI = .978, RMSEA = .044) and explained 69% of the variance in well-being. This model indicated that social support had a significant positive direct effect and had an indirect effect on well-being though caregiver appraisals. Parenting stress had an indirect effect on well-being though caregiver appraisals on well-being.

               The findings suggest that intervention program to promoting well-being of grandmothers raising a grandchild should be focused on family and relatives’ support, decreasing parenting stress, and enhancing positive perception on caregiver appraisals.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย