ผลของโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกเสพยา ต่อความตั้งใจในการเลิกเสพยาของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีน THE EFFECT OF PROGRAM TO ENHANCE PERCEIVED DRUG ABSTINENCE SELF-EFFICACY ON INTENTION TO DRUG ABSTINENCE AMONG PERSONS WITH AMPHETAMINE DEPE
คำสำคัญ:
ความตั้งใจในการเลิกเสพยา, การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกเสพยา, ผู้เสพติดสารแอมเฟตามีน, ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง, intention to drug abstinence, perceived drug abstinence self-efficacy, persons with amphetamine dependence, Civilian development centerบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกเสพยาต่อความตั้งใจในการเลิกเสพยาของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีนกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดเพศชาย ระบบบังคับบำบัด (แบบไม่เข้มงวด) โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่งานวิจัยกำหนด จำนวน 24 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ12 คนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกเสพยาในรูปแบบกลุ่มส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ประเมินโดยใช้แบบสอบถามความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความตั้งใจในการเลิกเสพยาในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้น และระยะติดตามผล ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 954.02, p < .001) โดยในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจในการเลิกเสพยาระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นเท่ากับ 3.57 (SD=0.24) และระยะติดตามผล 1 เดือน เท่ากับ 3.79 (SD=0.19) ส่วนกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจในการเลิกเสพยาระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นเท่ากับ 2.75 (SD=0.68) และระยะติดตามผล1 เดือน เท่ากับ 2.89 (SD=0.62) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจในการเลิกเสพยาในระยะก่อนการทดลอง ต่ำกว่าในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกเสพยาแบบกลุ่มนี้ช่วยเพิ่มความตั้งใจในการเลิกเสพยาของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีน ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการให้การดูแลและให้การบำบัดแก่ผู้รับบริการกลุ่มนี้สามารถศึกษาโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกเสพยาในรูปแบบกลุ่ม และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการบำบัดสำหรับผู้เสพติดสารแอมเฟตามีนหรือสารเสพติดอื่น ๆ
Abstract
The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of the program to enhance perceived drugs abstinence self-efficacy on intention to drug abstinence among persons with amphetamine dependence. The sample consisted of 24 persons with amphetamine dependence who met the inclusion criteria. They were randomly assigned into either an experimental or control group (n = 12 in each group). The experimental group participated in the perceived drug abstinence self-efficacy enhancement group program, whereas, those in the control group received only routine care from the civilian development center. The drug abstinence intention scale was administered to the participants in both groups. This scale yielded Cronbach alpha of .83. Descriptive statistics and repeated measure ANOVA were employed to analyze the data.
The results showed that the mean scores of intention to drug abstinence at post - test and 1- month follow up of the experimental group were significantly different from the control group (p < .001). In the experimental group, the mean score of intention to drug abstinence at post-test was 3.57 (SD=0.24) and 1- month follow up was 3.79 (SD=0.19). In the control group, the mean score of intention to drug abstinence at post-test was 2.75; (SD=0.68) and 1- month follow up was 2.89 (SD=0.62). The mean score of intention to drug abstinence of the experimental group at pre- test was lower than at post-test and 1- month follow up. These findings suggest that this program could effectively enhance intention to drug abstinence among the persons with amphetamine dependence. Therefore, nurses and related health care providers should learn and apply this program to promote drug abstinence among the persons with amphetamine dependence.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น