ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การตรวจช่องอกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล THE EFFECT OF COMPUTER-ASSISTED INSTRUCTION WITH THORACIC EXAMINATION ON LEARNING OUTCOME AND SATISFACTION IN NUSRING STUDENTS

ผู้แต่ง

  • อรทัย โสมนรินทร์
  • ทองปาน บุญกุศล

คำสำคัญ:

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การตรวจช่องอก, ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล, computer-assisted instruction, thoracic examination, satisfaction, nursing student

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ที่ศึกษาวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่าที

     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean =4.97, S.D=0.11)

Abstract

     The purpose of this quasi-experimental research was to compare the learning outcome and satisfaction of nursing students before and after using computer-assisted instruction with thoracic examination. The simple Random sampling was done from the fourth year nursing students in academic year 2015 at the Faculty of Nursing, Pathumthani University. Thirty nursing students were participated in the study. The instruments included computer-assisted instruction with thoracic examination, learning outcome and satisfaction questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics and T-test.

     Main finding revealed that the mean scores of learning outcome after participating CAI was higher than before. Moreover, the difference between before and after mean scores of learning outcome was statistically significant (p <.001). The overall Students’ satisfaction scores after learning CAI with thoracic examination was the highest level (Mean=4.97, S.D.=0.11)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย