ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางจริยธรรมและกลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต เปรียบเทียบระหว่างชั้นปีที่ 1 และ ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ EMOTIONAL QUOTIENT, MORAL QUOTIENT, AND LEARNING AND STUDY STRATEGIES INVENT
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางอารมณ์, ความฉลาดทางจริยธรรม, กลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้, emotional quotient, moral quotient, learning and study strategiesบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายแบบติดตามระยะยาวครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความฉลาดทาง อารมณ์ ความฉลาดทางจริยธรรม และกลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ ระหว่างนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 และ 4 จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ชุดที่ 2 แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของ กรมสุขภาพจิต ที่เป็นแบบวัดมาตรฐานมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 52 ข้อ ชุดที่ 3 แบบวัดความฉลาดทางจริยธรรมของวิสุทธิ วนาอินทรายุธ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 60 ข้อ และชุดที่ 4 แบบวัดกลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 56 ข้อ ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และความเทียงแบบวัดความสอดคล้องภายในของเครื่องมือชุดที่ 2, 3 และ 4 ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .75, .85, .74 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัด วิเคราะห์ขอมูลด้วยสถิตเชิงพรรณนา และ สถิตทดสอบที (paired t-test)
ผลการศึกษา พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจริยธรรมและกลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านสุขภาพจิตของความฉลาดทางจริยธรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =4.92, p < .05) สำหรับกลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ พบว่ามี 2 ด้าน คือ สมาธิ (t =2.78, p < .05) และ การตรวจสอบและประเมินตนเอง (t =3.62, p < .05) ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 และ 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Abstract
This longitudinal descriptive study aimed to compare emotional quotient, moral quotient, and learning and study strategies inventory of the first- year nursing students and the fourth- year nursing students, Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. The sample was 96 first- year nursing students of Boromarajonani College of Nursing Bangkok and followed until they studied in the fourth year. Questionnaire used for data collection included Demographic Data Questionnaire, Emotional Quotient Assessment Questionnaires (EQAQ), Moral Quotient Assessment Questionnaires (MQAQ), and Learning and Study Strategies Inventory Questionnaires (LSSIQ). The content validity was judged by experts and Cronbach’s alpha coefficient of EQAQ, MQAQ, and LSSIQ were .85, 0.75, and 0.74, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and paired t-test.
The results demonstrated that overall of emotional quotient, moral quotient, and learning and studystrategies of the first- and fourth- year nursing students were not significantly different (p > .05). When comparing into a subscale, it found that the mental health subscale under moral quotient of the first- and fourth- year differed with statistical significance (t = 4.92, p <.05). According to the learning and study were statistically significant difference (t = 3.62, p <.05).
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น