อาชีอนามัยและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ คุณภาพชีวิต และ ข้อเสนอแนะในการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิแก่แรงงานสูงอายุ นอกระบบ: กรณีศึกษาในชายทะเลฝั่งตะวันออกของประเทศไทยAN OCCUPATIONAL HEALTH AND SAFETY IN WORKING,A QUALITY OF LIFE AND A PROPOSAL OF HEALTH
คำสำคัญ:
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คุณภาพชีวิต, แรงงานสูงอายุ, การจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ, occupational health and safety, quality of life, self-employed aging worker, primary care serviceบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
แรงงานสูงอายุเป็นกลุ่มที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการทำงานเมื่อเปรียบเทียบ
กับแรงงานกลุ่มอื่น วิธีการวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อาชีวอนามัย ความปลอดภัย
และคุณภาพชีวิตของแรงงานสูงอายุนอกระบบ และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะในการจัดบริการอาชีวอนามัยใน
หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ให้แก่แรงงานสูงอายุในชุมชนชายทะเลฝังตะวันออกของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง
มี 3 กลุ่มตามประเภทของการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) การใช้แบบสัมภาษณ์แรงงานสูงอายุ อายุ 50 ปีขึ้นไป อาชีพ
ค้าขายแถบชายทะเลบางแสนและอ่างศิลาจนวน 200 คน การเก็บข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่มแรงงานสูงอายุ
จำนวน 28 คน 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานบริการระดับปฐมภูมิ จำนวน 3 คน และ 3) การสนทนา
กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพแรงงานสูงอายุ จำนวน 44 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ
พรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า 1) แรงงานสูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85) อายุเฉลี่ย 59.77 ปี มีการ
สัมผัสความร้อนหรือทำงานกลางแจ้ง (ร้อยละ72) บาดเจ็บจากการถูกอาหารทะเลทิ่มมือ มีดบาด (ร้อยละ
44.5 เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 29 มีปัญหาปวดหลัง เอว ขา หัวเข่า จากการยืนนาน นั่งนาน เมื่อเจ็บ
ป่วยรับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ร้อยละ 52 และไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (ร้อยละ
19) มีคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง (ร้อยละ 84) 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัย
ในสถานบริการระดับปฐมภูมิ จากผลการสนทนากลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพแรงงานสูงอายุ ได้เสนอแนะ รูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุก เชิงรับ ทีมทำงาน และกลไกการทำงานผลการวิจัยสามารถเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้แก่ กระทรวงสาธารณสุขในการจัดบริการอาชีวอนามัย โดยควรมีหลักสูตรอบรม จัดอบรมความรู้ ทักษะ
ให้เจ้าหน้าที่ ควรเพิ่มงบประมาณสำหรับบริการอาชีวอนามัย รูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยนั้นหน่วยงาน สคร. รพศ. เจ้าหน้าที่สุขภาพของเทศบาลร่วมกับเจ้าหน้าที่ ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ร่วมกันบริหารจัดการการให้บริการ การจัดตั้งเครือข่ายในการทำงานดูแลแรงงานสูงอายุ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับ อสม. ของพื้นที่ชายทะเล ในการให้บริการเชิงรุกและเชิงรับให้แก่แรงงานสูงอายุอาชีพค้าขายชายทะเล
Abstract
Aging workers are at higher risk of illness and injury from working than other groups. This mixed
method research aimed to investigate occupational health, safety, and quality of life of aging workers in
the seashore community and make suggestions for occupational health service in primary care unit.
The research was conducted into 3 parts. The first part interviewed 200 self-employed aging workers
aged over 50 years old at Bangsaen and Ang-Sila beach, then focus group discussion with 28 workers.
The second part, in-depth interview was used to interview 3 directors of primary care unit. The third
part, focus group discussion was arranged in 44 municipal officers who were providing care for the aging
workers. The descriptive statistics such as percentage, mean, and standard deviation were used to analyze
quantitative data and content analysis was used to analyze qualitative data.
The results found that 85 % of aging workers were females with 59.77 years of age average; 72 %
of the workers had exposed to heats sources, 44.5 % was injured by pricking and cutting, and 29% had hypertension.
Most workers had pain at back, waist, leg, and knee from too long standing or sitting at work.
About 52% of the aging workers sought treatment from tertiary and secondary health care services
and 19% seeking treatment from the primary care unit. Mostly, quality of life of the aging workers was at moderate level (84%). The municipal officers and directors of primary care unit proposed the occupational health service’s model for health promoting hospital for the self-employed aging workers, including outreach services and on- site services, team building, and working process guidelines.
The findings could be used for guiding the policy for the Ministry of Public Health to provide occupational
health services in the primary care unit by arranging more training courses for health personnel and granting
more budget for occupational health services. The model for occupational health service in primary care unit should be evolved between occupational health officers from disease prevention and control office, occupational health working group of tertiary hospital, nurses from municipality office, directors of health promoting hospital, and village health volunteers to provide the outreach and on- site services.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น