ลักษณะงาน ความเสี่ยงในการทำงาน และความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ที่มีผลต่อการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • เพ็ญรุ่ง วรรณดี นักศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณาสุขศาสตร์) สาขาการพยาบาลสาธารสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ รองศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม รองศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปรารถนา สถิตย์วิภาวี รองศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงในการทำงาน, ความสามารถในการทำงาน, การจัดการความปลอดภัย, พยาบาลวิชาชีพ, Risky Tasks, Work Ability, Patient Safety Management, Professional Nurses

บทคัดย่อ

 

การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย มีความสำคัญยิ่งในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายระหว่างลักษณะงาน ความเสี่ยงในการทำงาน และความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กับการจัดการความปลอดภัยผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ ร่วมกับ Mixture model เพื่อจำแนกระดับการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย และการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก (Logistic Regression)

ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีลักษณะงานที่มีความเร่งด่วนฉุกเฉินและยุ่งยากซับซ้อน อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 48.0) มีการควบคุมกำกับงานจากผู้บังคับบัญชาปานกลาง (ร้อยละ 51.5) มีความเสี่ยงในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 48.5) และมีความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับที่ดีมาก ร้อยละ 53.0 มีการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยในระดับสูง(ร้อยละ 56.3) นอกจากนี้ยังพบว่า ประสบการณ์การทำงานในหน้าที่ปัจจุบัน ความเสี่ยงในการทำงานด้านเคมี และความสามารถในการทำงานในลักษณะของงานหนัก มีความสัมพันธ์กับการจัดการความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลในโรงพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05) และพบว่าความเสี่ยงในการทำงานด้านเคมี และความสามารถในการทำงานปัจจุบัน และสภาวะทางสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพ สามารถทำนายการจัดการความปลอดภัยผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน

ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้ควรประเมินและเฝ้าระวังในการปฏิบัติงานของพยาบาลในด้านความเสี่ยงทางเคมี โดยจะต้องให้ความรู้ และจัดฝึกอบรมในการป้องกันตนเอง และผู้ป่วย เพื่อให้พยาบาลมีความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติในการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของตนเองได้

 

ABSTRACT

Patient safety management is very important for working in hospitals of professional nurses. This study was a descriptive research that aimed to determine the relationship and predictability of personal factors, job characteristics, risky tasks, work ability, and patient safety management among 400 professional nurses who were working in community hospitals. Self-administered questionnaires were used for data collection. Data analysis was made by using Chi-square along with the mixture model for identifying the levels of patient safety management, and Logistic Regression.

The results of the study showed that the highest percentage of the samples had a “moderate” level of “Urgent and Complicated” job characteristics (48.0%); received a “moderate” level of superiors’ monitoring (51.5%); had “moderate” levels of risks at work (48.5%); had a “very good” level of work ability (53.0%); and managed a “high” level of patient safety (56.3%). It was found that the working experience in the current position, the chemical substance related risks at work, and the working ability related significantly with patient safety management among professional nurses in community hospitals (p < .05). The chemical substance related risks at work, the ability to work in their current position, and the mental health status of professional nurses in community hospitals could predict patient safety management.

The findings of this study suggested that there should be an assessment and observation on nurses’ performances regarding the chemical substance related risks at work together with training them to understand and be able to apply knowledge in assessing risky tasks.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย