ผลของการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, ทฤษฎีความสามารถตนเอง, พฤติกรรมการควบคุมอาหาร, การออกกำลังกาย, Older adults with hypertension, Adults with hypertension, Self-efficacy, Diet control, Exercise behaviorsบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีความดันซิสโตลิคตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป จำนวน 61 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองด้านการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย เป็นเวลา 7 สัปดาห์ และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 31 คน ได้รับบริการสุขภาพตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวัดความดันโลหิต ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Independent t-test และ Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) กลุ่มทดลอง มีค่าระดับความดันซิสโตลิคลดลงเฉลี่ยจากก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.005) รวมทั้งจำนวนสมาชิกของกลุ่มทดลองสามารถควบคุมความดันซิสโตลิคให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (SBP≤139 mmHg) มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.001) ซึ่งโปรแกรมนี้อาจนำไปประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้อีก
Abstract
The main objective of this quasi-experimental study was to examine effects of a self-efficacy theory application on diet control, exercise behaviors, and blood pressure in older adults with hypertension. There were sixty-one older adults participated, as 30 participants in the experimental group and 31 participants in the comparison group. The 7-week intervention program to promote perceived self-efficacy on diet control and exercise. The comparison group got routine conventional health care services from their Subdistrict Health Promoting Hospital. Data collection was done by using questionnaire and systolic blood pressure assessment. Statistical analysis was performed using mean, percentages, standard deviation, Chi-square test, pair t-test, and independent t-test.
Results reveal significant higher post-test mean scores of diet control and exercise behaviors in the experimental group than the pre-test score, and greater than those in the comparison group (p<.001). In addition, a significant decrease of post-test systolic blood pressure mean score than the pre-test in the experimental group was found. The systolic blood pressure mean score in the experimental group was also lower than those in the comparison group (p=.005). After the intervention, there were more participants in the experimental group having acceptable systolic blood pressure (SBP≤139 mmHg) than those in the comparison group (p=.001). This intervention program could be applied for other chronic condition in older adults.
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น