ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันความดันโลหิตสูงในชายวัยกลางคน เขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อภัสริน มะโน พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 13 ไมตรีวานิช สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
  • วันเพ็ญ แก้วปาน รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปาหนัน พิชยภิญโญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความดันโลหิตสูง, ชายวัยกลางคน, ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค, แรงสนับสนุนทางสังคม, Hypertension, Middle-aged men, Protection motivation theory, Social support

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันความดันโลหิตสูง ในชายวัยกลางคน เขตกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง(Quasi –Experimental Research Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นชายวัยกลางคน 60 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและ กลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน ระยะเวลาศึกษา 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันความดันโลหิตสูงที่เน้นด้านการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ประกอบด้วย การชมวีดีทัศน์ประกอบการบรรยาย เรียนรู้จากตัวแบบ การสาธิต ฝึกทักษะ อภิปรายกลุ่ม และได้รับแรงสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ก่อน-หลังการทดลอง และระยะติดตามผลการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดลอง ด้วยสถิติ Paired t-test, Independent t-test และ ANCOVA

ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มทดลองมีการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถ การรับรู้ประสิทธิผลของการปฏิบัติ และมีพฤติกรรมการป้องกันความดันโลหิตสูงดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) และมีคะแนนเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวลดลงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.001)

ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันความดันโลหิตสูงแก่ชายวัยกลางคน โดยควรจัดโปรแกรมการป้องกันความดันโลหิตสูงโดยเน้นการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและนำคู่มือบันทึกการปฏิบัติตนในการป้องกันความดันโลหิตสูงมาใช้ในการประเมินพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ชายวัยกลางคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Abstract

The purpose of the Quasi-Experimental Research design were to explore the effectiveness of the application of the protection motivation theory and social support in hypertension prevention among middle-aged men in Bangkok Metropolitan. The samples were 60 middle-aged men living in Sampantawong District, Bangkok, being divided into 30 persons in the experimental group and 30 persons in the comparison group. The study took for totally 8 weeks. The experimental group had been provided with the hypertension prevention program comprising video presentation, lecture, learning from role models, demonstration, skill practice, stimulation, and support from family members or relatives. The data were collected by using the questionnaires during pre-experiment, post-experiment, and follow-up stage. The data analysis was made by computer program including, mean, and standard deviation. The comparison of the findings of the study was made by Paired t-test, Independent t-test, and ANCOVA.The results showed that the experimental group had better perceived noxiousness, perceived probability, perceived self-efficacy, perceived response-efficacy, and hypertension preventive behaviors than pre-experiment and the comparison group with a statistical significance (p-value<.001) and mean of blood pressure, BMI, waist circumference, and the comparison group were lower than pre-experiment with a statistical significance (p-value <.001).

The results of this study suggest that in promoting hypertension preventive behaviors among middle-aged men should be recorded to perform hypertension preventive behaviors. It is also suggested to evaluate behaviors and hypertension prevention programs that emphasize diet control, exercise among middle-aged men, increase intention behaviors among middle-aged men.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย