ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นจังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา สุขีรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สามโก้ จังหวัดอ่างทอง
  • ทัศนีย์ รวิวรกุล อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรวรรณ แก้วบุญชู รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ, ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น, Health belief model, Infection prevention behavior, First responders

บทคัดย่อ

การป้องกันการติดเชื้อ มีความสำคัญยิ่งในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัตการฉุกเฉินเบื้องต้นในชุมชน แต่ยังมีผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินจำนวนหนึ่งที่ขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นจังหวัดอ่างทอง จำนวน 194 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ Independent t - test

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 63.9) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 3 ใน 5 ด้านของการรับรู้ในความเชื่อด้านสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วยการรับรู้ความรุนแรงของโรค (ร้อยละ 53.1) การรับรู้อุปสรรค (ร้อยละ 44.8) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (ร้อยละ 57.2) ส่วนความเชื่อด้านสุขภาพที่อยู่ในระดับสูงมี 2 ด้าน คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยง (ร้อยละ 57.2) และการรับรู้ประโยชน์ (ร้อยละ 51.5) นอกจากนี้ ยังพบว่า คะแนนพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ โดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ38.1) และพบว่า อาชีพหลักของกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p = .011) ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม (p < .001) และด้านการรับรู้ความรุนแรง (p = .021) มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้ควรมีการประเมินและเฝ้าระวังในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น ในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ โดยจะต้องให้ความรู้ และจัดฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นมีความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติในการทำงานของตนเองได้


Infection prevention is a crucial function among first responders working in community. This study aimed to examine associations between health believes and infection prevention behaviors among 194 first responders in Angthong Province. Data collection was done by using a set of questionnaire regarding Health Belief Model and infection prevention behaviors. The data was analyzed by using Chi-square, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and Independent t-test.

Results indicate a moderate level of health believes among most responders (63.9%). Considering each item, or 3 out of 5 perceived health believes were at moderate level, which were perceived severity (53.1%), perceived barriers (44.8%), and perceived receiving information (57.2%). For the high level of health believes, perceived risks was at 57.2%, and perceived benefits was at 51.5%. The overall scores of infection prevention behaviors were at moderate level (38.1%). In addition, responders’ occupations were found related to infection prevention behaviors, with statistically significance (p=.011). The overall health believes and perceived severity were found having association with infection prevention behaviors as well (p < .001 and .021, respectively).

Recommendations from this study are to perform surveillance and monitoring first responders’ by providing knowledge and training the infection prevention course. Therefore, they could apply the knowledge into their works.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย