แรงจูงใจกับประสิทธิผลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน
คำสำคัญ:
พยาบาลวิชาชีพ, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิผลของพยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อประเมินระดับและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ กับประสิทธิผลของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี ในโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 4 แห่ง รวม 130 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม ถึง 21 สิงหาคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-30 ปี สถานภาพสมรสโสด มีประสบการณ์การปฏิบัติงานในตำแหน่งวิชาชีพพยาบาล 1-5 ปี ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยใน ส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมหรือประชุมวิชาการทางการพยาบาล มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และประสิทธิผลของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.51, 3.62 ตามลำดับ) คุณลักษณะส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน ส่วนแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนในระดับปานกลาง (r = 0.65) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.01
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล ควรจัดอัตรากำลังเฉลี่ยตามปริมาณงานและภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ พัฒนาระบบการทำงานที่เป็นเวรผลัด (Shift Work) ผู้บริหารโรงพยาบาล ควรให้รางวัลหรือค่าตอบแทนตามความเหมาะสมกับภาระงานที่รับผิดชอบ พัฒนาการจัดอตรากำลังของพยาบาลวิชาชีพให้เพียงพอและเหมาะสมกับภาระงาน สร้างและส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ส่งเสริมด้านวิชาการ
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น