ประสบการณ์ความต้องการการดูแลของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่ใส่ท่อหลอดลมคอ.
คำสำคัญ:
ประสบการณ์ความต้องการการดูแล, ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่ใส่ท่อหลอดลมคอบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ความต้องการการดูแลของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีประสบการณ์ใส่ท่อหลอดลมคอ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ตามแนวคิดเชิงปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl (Husserl Phenomenology) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ร่วมกับกิจกรรมสันทนาการในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนอายุ 9-12 ปี ที่มีประสบการณ์ใส่ท่อหลอดลมคอ การอิ่มตัวของข้อมูลเกิดขึ้นในการศึกษาผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 ราย การสัมภาษณ์บันทึกด้วยเทปบันทึกเสียง และนำมาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามแบบการวิเคราะห์ข้อมูลของ Colaizzi (2001 cited in Streubert & Carpenter, 2003)
ผลการศึกษาทำให้สามารถอธิบายประสบการณ์ความต้องการการดูแลของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีประสบการณ์ใส่ท่อหลอดลมคอ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ความรู้สึกต่อประสบการณ์การใส่ท่อหลอดลมคอมี 4 ประเด็นได้แก่ 1) เจ็บปวด ทรมาน 2) น่าสะพรึงกลัว 3) อึดอัด คับข้องใจในการสื่อสาร และ 4) เบื่อ ส่วนที่ 2 ประสบการณ์ความต้องการการดูแลขณะใส่ท่อหลอดลมคอมี 3 ประเด็น ได้แก่ 1) สัมผัสที่อบอุ่นและอ่อนโยน 2) บริการสร้างเสริมจิตสุนทรีย์ และ 3) ช่องทางเจรจานำพาสุข
ผลการศึกษานี้ ทำให้เข้าใจการรับรู้ประสบการณ์ความต้องการการดูแลของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีประสบการณ์ใส่ท่อหลอดลมคอดีขึ้น และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการพยาบาลแบบองค์รวม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่ใส่ท่อหลอดลมคอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น