ปัจจัยทำนายความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจในงาน, บรรยากาศการสื่อสาร, การสนับสนุนจากองค์การ, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย, พยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส บรรยากาศการสื่อสาร การสนับสนุนจากองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับความพึงพอใจในงาน และศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันทำนายความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร จำนวน 292 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามบรรยากาศการสื่อสาร แบบสอบถามการสนับสนุนจากองค์การ แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย และแบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน หาค่า CVI ได้ .97, .98, .98 และ .95 ตามลำดับ และหาความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ .90 ทุกชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานครอยู่ในระดับสูง (= 3.55) X̄
2. บรรยากาศการสื่อสาร การสนับสนุนจากองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .43, .37 และ .40 ตามลำดับ)
3. ตัวแปรที่ร่วมกันทำนายความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือบรรยากาศการสื่อสาร การสนับสนุนจากองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย
โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 25.0 (R2 = .250) ได้สมการในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้
ความพึงพอใจในงาน = .250 บรรยากาศการสื่อสารในองค์การ + .198 การสนับสนุนจากองค์การ + .169 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
จากผลการวิจัย แสดงว่าบรรยากาศการสื่อสารในองค์การ การสนับสนุนจากองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มระดับของความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพได้
4. บรรยากาศการสื่อสาร การสนับสนุนจากองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .43, .37 และ .40 ตามลำดับ)
5. ตัวแปรที่ร่วมกันทำนายความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือบรรยากาศการสื่อสาร การสนับสนุนจากองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย
โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 25.0 (R2 = .250) ได้สมการในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้
ความพึงพอใจในงาน = .250 บรรยากาศการสื่อสารในองค์การ + .198 การสนับสนุนจากองค์การ + .169 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2
จากผลการวิจัย แสดงว่าบรรยากาศการสื่อสารในองค์การ การสนับสนุนจากองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มระดับของความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพได้
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น