กรอบแนวคิดรูปแบบการจัดการของครอบครัว: แนวคิดในการช่วยเหลือครอบครัวของผู้ป่วยเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • ยุพาภรณ์ พงษ์สิงห์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

การจัดการของครอบครัว, ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง, เด็ก, Family management, Chronic conditions, Children

บทคัดย่อ

ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังโดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กไม่เพียงมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเด็กเองแต่ยังมีผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัว ครอบครัวของผู้ป่วยเด็กบางครอบครัวอาจสามารถปรับตัวและสามารถจัดการการเปลี่ยนแปลงในครอบครัวได้จนรู้สึกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตามไม่ทุกครอบครัวที่สามารถจัดการได้ หรือแม้สามารถทำได้แต่อาจมีวิธีการที่แตกต่างกัน กรอบแนวคิดรูปแบบการจัดการของครอบครัว (Family Management Style Framework) ได้รับการพัฒนาโดยคนาเฟลและคณะ (1990) แนวคิดนี้ได้อธิบายถึงความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรังและผลกระทบตามมาต่อการดำรงชีวิตของสมาชิกในครอบครัว จุดประสงค์ของบทความนี้ เพื่อนำเสนอแนวคิดรูปแบบการจัดการของครอบครัว (FMS) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินและให้การช่วยเหลือครอบครัวของผู้ป่วยเด็กที่เจ็บป่วยเรื้อรัง และเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยในครอบครัวของผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้ต่อไป


Abstract

Chronic illness not only affects the lives of children with chronic illness but also multiple family members. Some families of children with chronic conditions come to view their children and their lives as normal and successfully manage illness-related demands. Not all families reach this point, however, and those that do may arrive at it through use of different strategies. The Family Management Style (FMS) Framework, developed over the past 20 years through qualitative research and conceptual reviews (Deatrick & Knafl, 1990; Gallo & Knafl, 1998; Knafl & Deatrick, 2003), describes various ways in which families define and manage illness related demands and the resulting consequences for family life. The purpose of this article is to present the Family Management Styles Framework that is useful in both clinical practice and research for assessing families who have children with chronic conditions.

 

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ