การปฏิบัติงานของวิสัญญีพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ ในเขตภาคกลาง
คำสำคัญ:
มาตรฐานการปฏิบัติงานของวิสัญญีพยาบาล, บรรยากาศองค์กร, ปัจจัยจูงใจบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของวิสัญญีพยาบาล และหาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กร ปัจจัยจูงใจ กับการปฏิบัตงานของวิสัญญีพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นวิสัญญีพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ในเขตภาคกลางจำนวน 272 คน เก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ เก็บข้อมูลช่วงในช่วงวันที่ 20 เมษายน 2553 - 30 มิถุนายน 2553 ได้แบบสอบถามกลับคืนที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจำนวน 235 ชุด คิดเป็นร้อยละ 86.40 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ Fisher’s exact test และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่าวิสัญญีพยาบาลส่วนใหญ่มีการปฏิบัติงานในระดับได้มาตรฐานร้อยละ 82.1 โดยมาตรฐานที่ 2 การพยาบาลระยะให้บริการทางวิสัญญีมีการปฏิบัติสูงสุด(ร้อยละ 97.4) และมาตรฐานที่ 7 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพมีการปฏิบัติต่ำสุด(ร้อยละ 53.6) ในส่วนของบรรยากาศองค์กร และปัจจัยจูงใจพบว่าส่วนมากอยู่ในระดับสูงเช่นกัน คือร้อยละ 51.3 และ60.4 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรโดยรวมและปัจจัยจูงใจโดยรวม กับผลการปฏิบัติงานของวิสัญญี พบว่ามีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.2302, p = 0.0004 และ r = 0.1499, p = 0.0264 ตามลำดับ) สำหรับปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ ประสบการณ์การทำงานด้านวิสัญญี และการศึกษาอบรมเพิ่มเติมนั้น พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของวิสัญญีพยาบาล
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ส่งเสริมการทำงานประสานกับสหสาขาวิชาชีพให้มากขึ้น และเพิ่มการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านการให้ข้อมูลการให้ยาระงับความรู้สึกกับผู้ป่วย ด้านการประเมินการตอบสนองของผู้ป่วย ควรสนับสนุนการจัดอุปกรณ์ เทคโนโลยี การจัดสิ่งแวดล้อมสถานที่ทำงานให้สะดวกเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน พิจารณาความดีความชอบด้วยความยุติธรรมเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ส่งเสริมด้านวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพของวิสัญญีพยาบาล
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น