การศึกษาความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • อุษณี ณ ตะกั่วทุ่ง
  • สุวิณี วิวัฒน์วานิช

คำสำคัญ:

ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลศูนย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 557 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน5 ท่านได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .86 และทดสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยรวมอยู่ในระดับสูง (X̄ = 3.54, SD = 0.54) ด้านที่มีการรับรู้ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติงานและให้บริการเชิงวิชาชีพ (X̄ = 3.83, SD = 0.56) ด้านที่มีการรับรู้ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจต่ำสุด คือ ด้านการบริหารบุคลากร (X̄ = 3.31, SD = 0.62) ข้อที่มีการรับรู้ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจต่ำสุดคือ พยาบาลวิชาชีพได้รับสวัสดิการต่างๆอย่างเหมาะสมในเรื่องรายได้ เครื่องแบบ ที่พัก อาหาร การรักษาพยาบาล (X̄ = 2.72, SD = 1.02) รองลงมา คือพยาบาลวิชาชีพได้รับสวัสดิการต่างๆ เท่าเทียมกับบุคลากรอื่นในโรงพยาบาล (X̄ = 2.84, SD = 1.06) ผลของความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจจำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานด้านการปฏิบัติการพยาบาล ประสบการณ์การบริหาร และหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่มีอายุมากกว่า มีการรับรู้ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุน้อยกว่า และ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การ

บริหารมากกว่า มีการรับรู้ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ สูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การบริหารน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 สำหรับพยาบาลวิชาชีพที่มี ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานด้านการปฏิบัติการพยาบาล และหน่วยงานที่ปฏิบัติ แตกต่างกัน มีการรับรู้ ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ ไม่แตกต่างกัน

ข้อค้นพบจากการวิจัย ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนจัดสวัสดิการแก่พยาบาลวิชาชีพ และควรมุ่งเน้นให้พยาบาลระดับปฏิบัติการที่มีอายุน้อยและยังไม่มีประสบการณ์การบริหาร ให้มีส่วนร่วมในการบริหารบุคลากรมากขึ้น เพื่อพัฒนาการบริหารให้เป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ เกิดการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย