การศึกษาศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมผลิตพยาบาล ของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน (Mapping and Matching องค์กร 3 ประสานในพื้นที่)

ผู้แต่ง

  • สำลี สาลีกุล
  • นิภาพร อภิสิทธิวาสนา
  • กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา

คำสำคัญ:

ศักยภาพและความพร้อม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, พยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ขององค์กรที่เป็นกลไกสามประสานในพื้นที่ ในการมีส่วนร่วมผลิตพยาบาลของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 91 แห่ง และจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 35 แห่ง รวมทั้งสิ้น 126 แห่ง ที่ยินดีให้ความร่วมมือในการตอบข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง มีบางพื้นที่ได้ส่งแบบสอบถามไปยังนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม 2551 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมSPSS สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความต้องการในการพัฒนาท้องถิ่นโดยการส่งคนในพื้นที่ไปเรียนเป็นพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 59.5 ความพร้อมในการสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อส่งคนในพื้นที่ไปเรียนเป็นพยาบาลวิชาชีพ และความพร้อมในการจ้างงานพยาบาล เพื่อเป็นพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 38.1 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ขององค์กรที่เป็นกลไกสามประสานในพื้นที่ พบว่า สถาบันการศึกษาคือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ โรงพยาบาลหรือสถานบริการ จำนวน 4 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7 แห่งที่มีส่วนร่วมผลิตพยาบาลของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน ปีการศึกษา 2551 และมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 48 แห่ง ที่มีความพร้อมในการสนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อส่งคนในพื้นที่ไปเรียนเป็นพยาบาลวิชาชีพ

จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการปรับวิธีการหาแนวทางในการประสานความร่วมมือร่วมกัน โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลให้มากขึ้น และมีวิธีการที่หลากหลาย

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย