ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลในองค์การพยาบาล

ผู้แต่ง

  • เทียมจิต จันทรภูมี นายทหารพยาบาลแผนกห้องอายุรเวชกรรมเฉพาะทาง โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
  • บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

คำสำคัญ:

ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล, องค์การพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยคือเพื่อศึกษาตัวชี้วัดธรรมาภิบาลในองค์การพยาบาล โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Technique) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 18 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและแบบบอกต่อ (Purposive and Snowball sampling) วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตัวชี้วัดธรรมาภิบาลในองค์การพยาบาล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา ได้องค์ประกอบหลักของธรรมาภิบาลในองค์การพยาบาล 6 องค์ประกอบ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของตัวชี้วัดธรรมาภิบาลในองค์การพยาบาล ลักษณะแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากระดับ 5 หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด ถึงระดับ 1 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อยที่สุด นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาวิเคราะห์ข้อมูลโดย คำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ คัดเลือกตัวชี้วัดที่มีค่ามัธยฐานมากกว่า 3.50 ขึ้นไป และ ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ ไม่เกิน 1.50 ขั้นตอนที่ 3 ส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นที่ให้ไว้ในการตอบแบบสอบถามรอบที่ 2 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้เกณฑ์เดียวกับการวิเคราะห์ข้อมูลรอบที่ 2 สรุปความเหมาะสมของตัวชี้วัดธรรมาภิบาลในองค์การพยาบาล และสรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลในองค์การพยาบาล ประกอบด้วย 40 ตัวชี้วัด ตามองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ

1. หลักความรับผิดชอบ ประกอบด้วย 8 ตัวชี้วัด

2. หลักการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด

3. หลักความโปร่งใส ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด

4. หลักคุณธรรมและจริยธรรม ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด

5. หลักนิติธรรม ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด

6. หลักความคุ้มค่า ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย