คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ ทวนพรมราช พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • มาลี เกื้อนพกุล พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • ดุษฎี ไตรยวงศ์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, บุคลากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. ลักษณะงาน ปัจจัยลักษณะงานในภาพรวมและรายด้านคือ งานที่ใช้ทักษะหลากหลาย งานมีเอกลักษณ์ ความมีอิสระในการทำงาน และความพร้อมในการตรวจสอบ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยลักษณะงานดังกล่าว เมื่อพิจารณาแยกตามลักษณะสายงานของกลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคลากรสายสนับสนุน และอาจารย์มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง ส่วนลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างเหมาบริการ และลูกจ้างประจำ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

2. ความพึงพอใจในงาน ปัจจัยความพึงพอใจในงานในภาพรวมและรายด้านคือ ด้านความร่วมมือในการทำงาน และด้านความขัดแย้งในการทำงาน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง ปัจจัยความพึงพอใจในงานดังกล่าว เมื่อพิจารณาแยกตามลักษณะสายงานของกลุ่มตัวอย่างพบว่ากลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง โดยเรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำดังนี้ ลูกจ้างเหมาบริการ ลูกจ้างชั่วคราว บุคลากรสายสนับสนุน ลูกจ้างประจำ และอาจารย์

3. คุณภาพชีวิตการทำงาน

ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสม คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ในด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกตามลักษณะสายงาน พบว่า อาจารย์มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง บคลากรสายสนับสนุนลูกจ้างเหมาบริการ ลูกจ้างประจำ และจ้างชั่วคราวมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคลากร คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ในด้านการพัฒนาความสามารถของบุคลากร มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกตามลักษณะสายงานของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำดังนี้ บุคลากรสายสนับสนุน อาจารย์ ลูกจ้างเหมาบริการ ลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างประจำ

ด้านความก้าวหน้าในงาน คุณภาพชีวิตของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ ในด้านความก้าวหน้าในงานมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกตามลักษณะสายงานของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำดังนี้ บุคลากรสายสนับสนุน อาจารย์ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างเหมาบริการ

ด้านธรรมนูญในองค์การ คุณภาพชีวิตของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ในด้านธรรมนูญในองค์การมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกตามลักษณะสายงานของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำดังนี้ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ บุคลากรสายสนับสนุน ลูกจ้างเหมาบริการและอาจารย์

ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่น คุณภาพชีวิตของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ในด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่นมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกตามลักษณะสายงานของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ลูกจ้างชั่วคราวมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง ลูกจ้างเหมาบริการ บุคลากรสายสนับสนุนลูกจ้างประจำและอาจารย์ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับอยู่ในระดับปานกลาง

ด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น คุณภาพชีวิตของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ ในด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกตามลักษณะสายงานของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ลูกจ้างประจำมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับต่ำ อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน ลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างเหมาบริการ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย