ความปวดและการจัดการความปวดของมารดาในระยะที่หนึ่งของการคลอด PAIN AND PAIN MANAGEMENT OF MOTHERS DURING THE FIRST STAGE OF LABOR

ผู้แต่ง

  • ศศิธร เตชะมวลไววิทย์

คำสำคัญ:

การเจ็บครรภ์, การจัดการความปวด, มารดาในระยะที่หนึ่งของการคลอด, labor pain, pain management, first stage of labor

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

      ความปวดในระยะคลอดถือเป็นความปวดที่มารดาคลอดบุตรทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อจะขับเคลื่อนทารก รก และเยื่อหุ้มรกออกจากโพรงมดลูก มารดาคลอดบุตรจะได้รับความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดในทุกระยะของการคลอด ซึ่งระยะ ที่หนึ่งนับว่าเป็นระยะที่นานที่สุดเมื่อเทียบกับระยะอื่น ๆ ของการคลอด เป็นระยะที่มารดาส่วนหนึ่งหมดความ อดทน ความปวดจะทำให้เกิดความเครียด ที่จะส่งผลทำให้ทารกอาจมีภาวะการขาดออกซิเจนได้ ดังนั้น การจัดการความปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอดจึงมีความสำคัญ เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยการจัดการ ความปวดมีหลายวิธีทั้ง การไม่ใช้ยา และการใช้ยา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับความเจ็บปวดของมารดาระยะคลอด แต่ละบุคคล บทความนี้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับกายวิภาค สรีรวิทยา กลไกการคลอด การประเมินระดับความปวดในระยะคลอด และแนวทางการวางแผนดูแลจัดการความปวดของมารดาในระยะที่หนึ่งของการคลอด เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในการจัดการความปวด และสามารถช่วยเหลือมารดาให้คลอดบุตรได้อย่างปลอดภัย

 Abstract

     Labor pain is an inevitable phenomenon for all mothers due to a continuous and progressive contraction of the uterus toward deleivery. Pain during the first phase of labor is considered the longest compared to other stage of delivery. Pain can cause stress that affect baby and cause hypoxia. Pain management in the first stage of labor is crucial, this article review anatomy and physiology of delivery, assessment of labor pain based on individual patient’s threshold, and summarize the recommend approach and current nonpharmacologic and pharmacologic of labor pain management. Nurses provide close care to mother and should learn in correct interpret level of labor pain and utilize as supportive data in planning for maternal care during first stage of labor.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ