การศึกษาเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการสอนเรื่องการจัดการอาการข้าง เคียงของเคมีบำบัดด้วยคอมพิวเตอร์วยสอนกับโปรแกรมการสอนแบบปกติ โดยพยาบาลต่อคุณภาพ วิตการจัดการอาการ และความรุนแรงของอาการ ข้างเคียงของผู้ป่วยมะเร็ง นิดก้อนที่รับเคมีบำบัดครั้งแรก A COMPARATIVE S

ผู้แต่ง

  • ภรณี ผ่องนพคุณ
  • นวลอนงค์ คำโสภา
  • จีรสุดา อินวะษา
  • ศศลักษณ์ จันทร์เจริญ
  • บุศย์รินทร์ เจียรนัยกูร

คำสำคัญ:

การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI), คุณภาพชีวิต, การจัดการอาการ, อาการข้างเคียงของเคมีบำบัด, ผู้ป่วยมะเร็ง, Computer Assisted Instruction (CAI), quality of life (QOL), symptom management, chemotherapy side effects, cancer patients

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เปรียบเทียบผลของการสอนเรื่องการจัดการอาการข้างเคียงของเคมีบำบัดระหว่างโปรแกรมการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและโปรแกรมการสอนปกติโดยพยาบาลต่อคุณภาพชีวิต การจัดการอาการและระดับความรุนแรงของอาการข้างเคียงของผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่รับเคมีบำบัดครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) จำนวน 80 คนและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการสอนปกติโดยพยาบาล (Face-to-face) จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามวัดคุณภาพชีวิต การประเมินการจัดการอาการข้างเคียง และการประเมินระดับความรุนแรงของผลข้างเคียงจากการได้รับเคมีบำบัด ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่รับเคมีบำบัดครั้งแรก เมื่อเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของผลข้างเคียงและการจัดการอาการของกลุ่ม CAI และกลุ่ม Face- to- Face พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อทำการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของทั้ง 2 กลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกัน ในส่วนของภาพรวมของคุณภาพชีวิตก่อนรับเคมีบำบัด (Baseline) กลุ่ม CAI เท่ากับ 72.6 และกลุ่ม Face- to- Face 102เท่ากับ 73.7 (p = 0.690) ในรอบการให้ยาที่ 2 เท่ากับ 71.9 กับ 67.3 ตามลำดับ (p = 0.138) และในรอบ การให้ยาที่ 3 เท่ากับ 69.4 กับ 63.8 ตามลำดับ (p = 0.106) และคะแนนความพึงพอใจต่อสื่อการสอนของกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบ CAI เท่ากับร้อยละ 84.7 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า วิธีการสอนทั้ง 2 วิธี สามารถนำมาใช้ในการให้ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดในครั้งแรก เนื้อหามีเพียงพอที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถจัดการอาการตนเองได้ ทำให้คุณภาพชีวิตไม่เปลี่ยนในช่วงของการให้เคมีบำบัดใน 3 รอบแรกของการรักษา และสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถใช้ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถจัดการอาการตนเองได้และสามารถลดภาระงานของพยาบาลในการให้คำแนะนำผู้ป่วย ทำให้สามารถนำเวลาไปพัฒนางานการพยาบาลที่มีความซับซ้อนด้านอื่นๆ ได้มากขึ้น

 

ABSTRACT

     This study was conducted to compare the effectiveness of the computer assisted instruction (CAI)program with the current method of face-to-face education on quality of life, outcome of symptom management strategies, and level of severity in cancer patient with solid tumor receiving initial chemotherapy. The sample of two study groups included: CAI group and Face- to- Face group with equal number of 80 patients. The 3 questionnaires were used to evaluate the patients’ quality of life, the severity of

chemotherapy side effects, and symptoms management strategies used to alleviate chemotherapy related symptoms. The comparison was measured among the patients receiving 3 cycles of chemotherapy. The percentage of cancer patients who were completely participated in the study was 91.88%, including 73 patients in the CAI group and 74 patients in the Face- to- Face Group. The result showed that the value of quality of life was 72.6 and 73.7, respectively (p value = 0. 690). There was also no significant difference in the comparison of severity of chemotherapy related symptoms between these two groups.

     This study revealed that the computer assisted instruction (CAI) is applicable to the patient and family education program. The patients are able to gain all necessary knowledge and understanding in improving their symptom management strategies. It also streamlines the nursing process and reduces workload. Consequently, the nurses can devote more attention to other complicated nursing care.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย