ผลของจิตตปัญญาศึกษาต่อการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ Effect of Contemplative Education on Transformative Learning of Boromarajonani College of Nursing Bangkok’s Personnel

ผู้แต่ง

  • ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร
  • พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์
  • สุภาพร วรรณสันทัด
  • จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี

คำสำคัญ:

จิตตปัญญาศึกษา, การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, การพัฒนาบุคลากร, Contemplative education, Transformative learning, Personnel development

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

                วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในที่ได้จากกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาและการนำกระบวนการจิตตปัญญาไปใช้ในการดำรงชีวิตและการพัฒนางานตามการรับรู้ของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม  บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการอบรมเรื่อง “จิตตปัญญาศึกษากับการพัฒนาบุคลากรเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” และยินดีเข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 3 กลุ่มๆ ละ 8-9 คน ใช้แนวคำถามกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) 2 ข้อ ถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในตนหลังอบรมจิตตปัญญาศึกษาและการนำจิตตปัญญาศึกษาไปใช้ในชีวิตส่วนตัวและการงาน การอบรมจิตตปัญญาศึกษาแบ่งเป็น 3 รุ่นๆ ละประมาณ 45 คน อบรมนาน 4 วัน กิจกรรมวันที่ 1 เน้นการสะท้อนคิดเกี่ยวกับตนเอง วันที่ 2 เน้นการรู้จักตนเอง ผู้ร่วมงาน และองค์กร วันที่ 3 เน้นการพิจารณาความจริงผ่านการสื่อสารด้วยสุนทรียสนทนาและการทำงานร่วมกัน วันที่ 4 เน้นการร่วมมือกันสร้างพันธกิจองค์กร ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มได้นำมาถอดเทปแบบคำต่อคำและใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อจำแนกประเด็น (theme)  ผลการวิจัย  พบว่า

                   1. การเปลี่ยนแปลงภายในที่เกิดจากกระบวนการจิตตปัญญาตามการรับรู้ของผู้เข้ารับการอบรม จำแนกได้ 6 ประเด็น ดังนี้ 1) รับฟังผู้อื่นโดยไม่ตัดสินมากขึ้น  2) เข้าใจและยอมรับผู้ร่วมงาน/สิ่งที่เกิดขึ้นในองค์กรมากขึ้น 3) เกิดสัมพันธภาพและความรู้สึกที่ดีต่อผู้ร่วมงาน 4) การมีปฏิสัมพันธ์/แสดงออกต่อผู้อื่นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  5) เกิดความสมดุลในตนเอง  และ 6) มีความสุข

2. ผู้เข้าอบรมนำกระบวนการจิตตปัญญาไปใช้ในการดำรงชีวิตและพัฒนางาน โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) การปรับเปลี่ยนการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว โดยมีการรับฟังมากขึ้นและพูดจาดีขึ้น และ 2) การปรับเปลี่ยนตัวเองในการทำงาน โดยการจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีโอกาสพูดและอาจารย์รับฟังมากขึ้น

กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาเป็นกิจกรรมที่สามารถทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้จากภายในซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างและการทำงาน  กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับใช้พัฒนาบุคลากรได้

Abstract

                The purpose of this study was to explore the effect of contemplative education (CE) on transformative learning and application of CE on daily life and work as perceived by personnel of Boromarajonani College of Nursing.  Three focus group interviews, with 8-9 participants per group, were arranged to interview the personnel who participated in the 4-day-program entitling “Contemplative Education for Transformative Learning in Human Resource Development” and willing to participate in the interview.  The investigators led the interview by using semi-structured interview guide asking about transformative learning after participating in the program and applying the CE in daily life and work.  The personnel was divided into 3 groups, approximately 45 people in each group, to participate in the CE program: the first day’s activities focused mainly on self-reflection, the second day on knowing about self, colleague, and organization, the third day on knowing the truth through dialogue and working together; and the last day on organizational commitment.  The data were verbatim transcribed for content analysis.    The result revealed that:

  1. Transformative learning as perceived by the personnel can be categorized into 6 themes: 1) effective deep listening with no judge, 2) better understanding and accepting colleague/things happening in the organization; 3) improving relationship and goodwill among the colleague, 4) appropriate response to others, 5) having self-balance , and 6) being happy.
  2. The participants have applied CE in daily life and work on two aspects:  1) changing the way to interact with others, such as family members and colleagues by having deep listening and appropriate speaking, and 2) modifying the way of teaching by providing more space for students to reflect and deep listening to the students.

In conclusion, the CE program is effective for developing transformative learning that can cultivate appropriate interaction with others in daily life and work of the personnel.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย