ความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ในการฝึกภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 STRESS AND COPING STRATEGIES OF NURSING STUDENTS IN CLINICAL PRACTICE PREPARATION OF MATERNAL AND CHILD HEALTH NURSING AND MIDWIFERY 1

ผู้แต่ง

  • ชุติกาญจน์ แซ่ตั้น
  • ศศิธร คำพันธ์

คำสำคัญ:

นักศึกษาพยาบาล, ความเครียด, การเผชิญความเครียด, การฝึกปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก, nursing student, stress, coping, clinical nursing practice

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด และวิธีการเผชิญความเครียด ในการเตรียมตัวขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในห้องคลอด รายวิชาการพยาบาลมารดาทารกและ การผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ปีการศึกษา 2555 จำนวน 64 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสำรวจความเครียดและการตัดสินทางอารมณ์เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติบนคลินิก 4 ด้านว่าเป็นอันตราย/สูญเสีย คุกคาม ท้าทาย หรือ เป็นประโยชน์ มีค่าความเชื่อมั่นรายด้าน เท่ากับ .81, .62, .85, และ.79 ตามลำดับ และ 2) แบบสำรวจวิธีการเผชิญความเครียดของลาซารัสและโฟล์คแมน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .90

ผลจากการศึกษาพบว่านักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ส่วนใหญ่มีความเครียดต่อการฝึกภาคปฏิบัติ ทางคลินิกรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 ในระดับเล็กน้อย และ มีการรับรู้ ต่อการฝึกภาคปฏิบัติทางคลินิกรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 เป็นลักษณะ ความท้าทาย เมื่อจำแนกการรับรู้ต่อสถานการณ์ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก พบว่าวิธีการเผชิญ ความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ที่มีการใช้บ่อยที่สุดสามลำดับแรก คือ การแสวงหาการเกื้อหนุนทางสังคม การวางแผนแก้ไขปัญหา และ การแสดงความรับผิดชอบของปัญหา คิดเป็นร้อยละ 31.25, 23. 44 และ 17.19 ตามลำดับ ผลการศึกษาที่ได้ในครั้งนี้ มีประโยชน์สำหรับอาจารย์ผู้สอนภาคปฎิบัติในการวัดระดับ ความเครียด และการวางแผนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในคลินิกเพื่อลดสถานการณ์ที่เป็นด้านลบของนักศึกษา

ABSTRACT

          The purpose of this descriptive research was to assess a stress level and ways of coping with situa­tion among 64 third year nursing students at Boromarajonani Nursing Collage, Trang during a one week preparation for the Maternal and Child Health Nursing and Midwifery 1 practicum in the 2012 academ­ic year. The data was collected using questionnaires: 1) the Clinical Stress Questionnaire assessing the appraisal of stress in clinical practicum as being harmful/causing loss, threatening, challenging, or beneficial. The reliabilities in each aspect of stress encounters was .81, .62, .85, and .79, respectively and 2) the Folkman and Lazarus’s Way of Coping Questionnaire. The Cronbach's alpha coefficient was .90.

Results revealed that the students perceived a mild level of stress about their coming clinical practicum and appraised it as being challenging. The top three coping strategies the students used were seeking social support (31.25%), plan for problem solving (23.44%), and accepting responsibility (17.19%). The findings provide valuable information for clinical instructors in identifying students’ needs, facilitating their leaning in clinical practice, and developing interventions to reduce the effect of negative stressors.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย