ปัญหาและอุปสรรคในการวินิจฉัยการพยาบาล ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม PROBLEMS AND OBSTACLES IN IMPLEMENTATION OF NURSING DIAGNOSIS OF NURSING STUDENTS OF SRIMAHASARAKHAM NURSING COLLEGE

ผู้แต่ง

  • นิสากร วิบูลชัย
  • กานต์รวี โบราณมูล

คำสำคัญ:

ปัญหาและอุปสรรค, การวินิจฉัยการพยาบาล, นักศึกษาพยาบาล problem and obstacle, nursing diagnosis, nursing student

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการวินิจฉัยการพยาบาลของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามจำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการวินิจฉัยการพยาบาล เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Alpha Chronbach Coefficient)  ได้ระดับความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการวินิจฉัยการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.55, S.D. = 0.48)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือ ด้านผู้เรียน (Mean = 3.15, S.D. = 0.66) รองลงมาตามลำดับ ได้แก่  ด้านสิ่งแวดล้อม (Mean = 2.61S.D. = 0.57) ด้านกระบวนการสอน (Mean = 2.40,  S.D. = 0.59) และด้านผู้สอน (Mean = 2.06,  S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีปัญหาสูงสุด คือ นักศึกษามีเวลาจำกัดในการศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารหรือตำราเพื่อให้เกิดความเข้าใจปัญหาผู้ป่วยก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงาน (Mean = 3.68,  S.D. = 0.88) รองลงมาตามลำดับ ได้แก่  นักศึกษามีความรู้ไม่ลึกซึ้งเพียงพอเกี่ยวกับพยาธิสภาพหรือสาเหตุของปัญหาของผู้ป่วยที่รับผิดชอบดูแล (Mean = 3.67S.D. = 0.95) และนักศึกษามีเวลาจำกัดในการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงาน (Mean = 3.42,S.D. = 1.02)

ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพด้านการวินิจฉัยการพยาบาลของนักศึกษาควรเน้นการเสริมสร้างความรู้ทางด้านทฤษฎีและทักษะการนำข้อวินิจฉัยการพยาบาลไปใช้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และการจัดการให้นักศึกษาพยาบาลมีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในเวลาที่เพียงพอ ตลอดจนจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการวินิจฉัยการพยาบาลของนักศึกษา


Abstract

The purpose of this study was to explore the problems and obstacles in the implementation of  nursing diagnosis of nursing students of Srimahasarakham Nursing College. The sample of this research comprised 136 second year nursing students, enrolled in the bachelor degree program in nursing, academic year 2013 of Srimahasarakham Nursing College. The instrument used for data collection was the questionnaires related to problems and obstacles in implementation of nursing diagnosis. The questionnaire was tested for its content validity by a panel of experts. The reliability of the instrument was .87. Statistical techniques used in data analysis were descriptive statistics.   

The results revealed that: 1) Overall mean score of the problems and obstacles in implementation of nursing diagnosis was at a moderate level (Mean = 2.55, S.D. = 0.48); 2) Among four aspects, the aspect of a learner had the highest mean score of problems and obstacles (Mean = 3.15, S.D. = 0.66), following by the aspects of clinical learning environments (Mean = 2.61, S.D. = 0.57), the teaching - learning process (Mean = 2.40, S.D. = 0.59), and instructors (Mean = 2.06, S.D. = 0.51), respectively;   3) When considering by items, it found that time limitation for self-studying before practicing in a clinical setting was perceived by the nursing students as the highest problems and obstacles for implementation of nursing diagnosis (Mean = 3.68, S.D. = 0.88), following by lack of knowledge about pathophysiology of disease (Mean = 3.67, S.D. = 0.95), and  time limitation for collecting patient’s data before practicing in clinical setting (Mean = 3.42, S.D. = 1.02), respectively.

Therefore, to maximize nursing diagnostic abilities of nursing students, the nursing students should be prepared intensively on theoretical knowledge and skills, which is essential for nursing diagnostic practice, as well as managed to have enough time for self-studying.  Clinical learning facilities promoting the abilities of nursing diagnosis in nursing students should be also provided.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย