การพัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนานักสร้างสุขโรงพยาบาล DEVELOPMENT OF OPERATIONAL TRAINING COURSE FOR HAPPY HOSPITAL DEVELOPERS
คำสำคัญ:
การพัฒนา, หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ, นักสร้างสุขโรงพยาบาล, development, operational training course, happy hospital developersบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนานักสร้างสุขโรงพยาบาล มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฯ โดยประเมินจากความต้องการจำเป็นในการสร้างสุของค์กร 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ หรือนักสร้างสุของค์กร จากโรงพยาบาลที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการและมีข้อมูลในฐานข้อมูลตรวจสอบสุขภาวะองค์กร จำนวน 62 คน จาก 28 องค์กร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้การสร้างสุขโรงพยาบาล มีค่าสัมประสิทธิ์ของคอนบราคแอฟฟ่า (α) เท่ากับ 0.43 และ 2) หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย 2.1) เอกสารคู่มือเส้นทางเดินไปสู่องค์กรสุขภาวะภาครัฐ และ 2.2) คู่มือออกแบบกระบวนการสร้างสุขโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน t-test และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ประกอบด้วยการสร้างสุขในองค์กร 6 ขั้นตอน คือ ตรวจสอบสุขภาวะ สร้างความตระหนักและสร้างพันธะสัญญา วินิจฉัยองค์กร ประเมินความต้องการและออกแบบ จับมือร่วมกันนำไปใช้ให้เกิดสุข และทบทวนและพัฒนา ผลการเปรียบเทียบความรู้ หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม (t = -2.49, p < .05) และผลการประเมินประสิทธิผลของการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่าสิ่งที่ได้รับมีความคุ้มค่า ได้ความรู้ ได้เข้าใจเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบสุขภาวะองค์กร ได้เครือข่าย ทราบสภาวะขององค์กร รู้จักจุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร เพื่อนำไปปรับปรุงปัจจัยที่เอื้อให้เกิดสุขภาวะในโรงพยาบาล ผู้เข้าอบรมเห็นควรจัดอบรมในลักษณะแบบนี้ต่อไป และเครือข่ายที่เกิดขึ้นควรจะมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน รวมทั้งการสร้างสุขในองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญและควรมีการจัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการสร้างสุขสำหรับคนในองค์กรสืบไป
Abstract
The purposes of the training course developing for happy hospital developers were: 1) to develop an operational training program based on identified needs for training sessions; 2) to compare knowledge pre- and post-training; and 3) to evaluate efficacy of the training program. Samples were 62 executive managers, HR managers and HR staff from 28 hospitals interested in participating in the program and database health monitoring Happy Public-Organization. A research tool comprising: 1) a test about knowledge to create a healthy happy organization that has alpha coefficient 0.43; and 2) operational training program which is composed of a handbook and an exercise in designing a healthy happy organization. Participants attended three days training program which include a process to create a healthy happy organization. Data analysis was carried out using t-test and content analysis.
Operational training program generated from this research consisting of six steps were Happy Public-Organization Index (HPI) Checklist, Our Happy Organization Vision, Organization Diagnosis, Need and Design, Working Together and Review & Development. The level of knowledge post-training was significantly higher than pre-training (t = -2.49, p < .05), which identified areas for improvement. Participants had a chance to improve professional networking and enhance knowledge about the organizations’ strengths and weaknesses. Participants agreed that such training should be continued. Results from this study led to an improved training program for creating a healthy happy organization.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น