ผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมและจำนวนวันนอนโรงพยาบาล หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงโรงพยาบาลแพร่ (EFFECTS OF CASE MANAGEMENT IN BREAST CANCER PATIENTS ON PERCEIV

ผู้แต่ง

  • สุภารัตน์ หมื่นโฮ้ง
  • สุวิณี วิวัฒน์วานิช

คำสำคัญ:

การจัดการผู้ป่วยรายกรณี, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, จำนวนวันนอนโรงพยาบาล, Case management, Self care efficacy, Length of stay

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองในผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม 2) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม ในกลุ่มทดลองที่ให้การพยาบาลตามรูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีกับกลุ่มควบคุมที่ให้การพยาบาลแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัด ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงโรงพยาบาลแพร่ จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือรูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ประกอบด้วย แผนการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม คู่มือการจัดการผู้ป่วยรายกรณี  คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม และแบบกำกับการทดลอง  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบบันทึกจำนวนวันนอน เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ทดสอบความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .90  สถิติที่ใช้ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สถิติทดสอบ t ( T- test)

 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

     1. การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมในกลุ่มทดลองที่ได้รับการพยาบาลตามรูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี สูงกว่า กลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     2. จำนวนวันนอนของผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมในกลุ่มทดลองที่ได้รับการพยาบาลตามรูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี น้อยกว่า จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มควบคุม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The  purposes of this experimental research were: 1) to compare self care efficacy 2) to compare  length of stay between  the  patients  with breast cancer using case management model and those who using routine  nursing. Subject were 30 patients with  breast cancer  in women surgical ward: Phare Hospital divided into 2 groups: the control group composed of 15 patients and other 15 for experimental group. Research instruments are case management  model of the  patients with breast cancer consisted of the clinical pathway for patients with breast cancer, the case management guideline, handbook on breast cancer patients and the experiment monitoring  checklist, self care efficacy of the breast cancer patients and length of stay records. Content validity were evaluated by a panel of  expert. The Cronbach’ s alpha coefficients of these questionnaires  was .90. Data were  analyzed by percentile, mean, standard deviation and T test static.

The major findings of  this study were as follows  :

          1. Self care efficacy of   the   breast   cancer   patients   after using a case management model was significantly   higher   than   who using   routine   nursing   at the .05 level.

          2. Length of stay after using a case management model was significantly   less than   who using   routine  nursing  at the .05 level.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย