ผลของโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย ของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน EFFECT OF HEALTH ALLIANCE NURSING PROGRAM ON FOOD CONSUMPTION AND EXERCISE BEHAVIORS IN OBESE SCHOOL AGE CHILDREN

ผู้แต่ง

  • อัศรีย์ พิชัยรัตน์
  • รัตน์ศิริ ทาโต
  • ประนอม รอดคำดี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพ, พฤติกรรมการบริโภค, พฤติกรรมการออกกำลังกาย, เด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน, Health Alliance Nursing Program, Food consumption, Exercise behaviors, Obese school- aged children

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพ Funnell (1995) ต่อพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน  กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน อายุระหว่าง 10-12 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดตรัง ที่นักเรียนมีภาวะโภชนาการเกินมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 คน โดยการจับคู่เพศและชั้นปีการศึกษาที่เหมือนกัน โดยที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกาย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคและแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน และผ่านการทดสอบความตรงและความเที่ยงเท่ากับ .80 ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติการทดสอบค่าที การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตามลำดับ

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ABSTRACT

The purposes of this quasi-experimental research were to investigate the effect of health alliance nursing program on food consumption and exercise behaviours in obese school-aged children. The health alliance theory of Funnel (1995) was used as a framework of this study. Subjects of the study were obese children age between 10-12 years old, currently studying in grade 4 in primary school in muang district, Trang. There were 50 participants equally divided into experimental and control group by matching gender and level of study.  The experimental group received the health alliance nursing program on food consumption and exercise behaviors  whereas; the control group received the usual treatment.   The instruments for collecting data were consisted of 2 questionnaires including food consumption behavior and exercise behavior for obese school- aged children which were test for content validity. The reliability of these questionnaires was greater than .80. Data were analyzed by using descriptive statistics and T-test.   

The study results were as follows;

  1. the average score of food consumption behavior and exercise  of obeseSchool- aged children after receiving the health alliance nursing program is higher than before participating in the study with statistical significance at.05.
  2. the average score of food consumption behavior and exercise of obeseSchool- aged children after participating in the health alliance nursing program is higher than the group that received usual care, with statistical significance at .05.

  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย