ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ต่อความรู้และการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล* EFFECT OF A COMPUTER-ASSISTED INSTRUCTION OF NURSING CARE OF CHILDREN WITH INTRAVENOUS FLUID THERAPY TOWARD KNOWLEDGE

ผู้แต่ง

  • โรส ภักดีโต
  • นันทกา สวัสดิพานิช
  • ราตรี สัณฑิติ

คำสำคัญ:

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ, การตัดสินใจทางคลินิก, นักศึกษาพยาบาล, Computer-Assisted Instruction, Nursing care of children with intravenous therapy, Clinical decision-making, Nursing stud

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำต่อความรู้และการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2554 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น จำนวน 145 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการตัดสินใจทางคลินิก และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซึ่งสร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนความรู้และการตัดสินใจทางคลินิกความรู้ก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบทีคู่

     ผลการศึกษา พบว่า คะแนนความรู้และการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาภายหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) นอกจากนี้นักศึกษามีความพึงพอใจ ต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และแบบทดสอบทำให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาตนเอง แสดงให้เห็นว่า การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้ในการเรียนการสอน ทำให้ความรู้และการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรส่งเสริมการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในหัวข้อการพยาบาลอื่นๆ และนำมาใช้ร่วมกับ
การเรียนการสอนตามปกติเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักศึกษาพยาบาลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

Abstract

     The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of a computer- assisted instruction (CAI) of nursing care of children with intravenous therapy toward knowledge and clinical decision-making of nursing students.  The population was 145 third-year nursing students who registered the practicum in pediatric and adolescent nursing course in the first semester, 2011 at the Thai Red Cross College of Nursing.  The instruments consisted of the CAI on nursing care of children with intravenous therapy, knowledge test, clinical decision - making assessment, and students’ satisfaction questionnaire that were developed by the researcher .  Data were analyzed using descriptive statistics and paired t-test.

     Results showed that the mean scores of knowledge of nursing care of children with intravenous therapy and clinical decision-making of students after learning on the CAI was significantly higher than before (p<.001).  Moreover, students’ satisfaction toward learning on the CAI was at high and highest levels.  They reported that the CAI helps obtain a better understanding about the contents.  Also, the CAI could encourage them in developing their proficiency.  Therefore, the CAI of other nursing care topics should be developed in order to integrate with the usual teaching style.  This could be used as another option to support self-directed learning of nursing students.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย