ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว ในการจัดการความปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยเด็กเล็กโรคทางตา หูคอจมูก Effect of the Family Involvement in Management of Postoperative Pain Program in Young Children with EENT Problems

ผู้แต่ง

  • ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์
  • ณัฐสุดา เสมทรัพย์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของครอบครัว, การจัดการความปวด, ความปวดหลังผ่าตัด, ผู้ป่วยเด็กเล็ก, Family Involvement, Pain Management, Postoperative Pain, Young Children

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยกึ่งทดลองเรื่องนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการความปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยเด็กเล็กโรคทางตา หูคอจมูกโดยการปรียบเทียบความปวดของผู้ป่วยเด็กเล็กโรคทางตา หูคอจมูกหลังผ่าตัดใน 24 ชั่วโมงแรกและความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดของผู้ปกครองระหว่างกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมอย่างมีรูปแบบในการจัดการความปวดกับกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเด็กอายุ 1 ถึง 6 ปี โรคทางตา หู คอ จมูก ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด และผู้ปกครอง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 50 คน กลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการเตรียมความพร้อมโดยผู้วิจัยตั้งแต่วันแรกรับเกี่ยวกับวิธีการประเมินความปวดที่จะใช้กับเด็ก การมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเด็กเมื่อมีความปวดหลังผ่าตัดโดยวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและไม่ขัดต่อมาตรฐานการดูแล 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด  รวมทั้งได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ที่ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ ผู้ป่วยเด็กได้รับการประเมินความปวดก่อนการผ่าตัดและทุก 4 ชั่วโมงหลังผ่าตัดใน 24 ชั่วโมงแรก เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1). คู่มือและวีดิทัศน์วิธีการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด  2) แบบประเมินความปวดสำหรับเด็กเล็ก CHEOPS (Children’s Hospital of Eastern Ontario Pain Scale) และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดการความปวดหลัง วิเคราะห์โดยสถิติที(Independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA)

     ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความปวดของผู้ป่วยเด็กใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดและคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดที่ประเมินโดยผู้ปกครองของทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P > .05) ผู้ปกครองในกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดทุกด้านในระดับมากถึงมากที่สุด วิธีในการช่วยบรรเทาปวดที่ผู้ปกครองกลุ่มทดลองใช้กับผู้ป่วยมีจำนวนมากกว่าในกลุ่มควบคุม การวิจัยเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าผลของการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการความปวดในเด็ก และสามารถนำไปใช้ในการเตรียมและให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อช่วยให้การจัดการความปวดในเด็กเล็กหลังผ่าตัดได้

Abstract

      The purposes of this quasi-experimental study was to investigate effect of the family involvement in management of postoperative pain program in young children with EENT problems by comparing the mean of postoperative pain scores in young children and the mean of satisfaction scores on pain management between parents who involved pain management for their young children and those who did normal care for their children. Sample included young children aged 1 to 6 years who were received operation related to EENT problems and were randomly divided into two groups including control (n = 50) and experimental (n = 50) groups.   Parents in the intervention group were educated and supported how to manage their child's pain before and after their child's surgery. Pain of young children was assessed before (baseline) and every 4 hours within 24 hours after surgery.

             The measures in this study include 1) Teaching packet for pain management.

 2) the CHEOPS (Children's Hospital of Eastern Ontario Pain Scale), 3) the pain management satisfaction questionnaire.  To assess the parental involvement's effect on outcome measures, data were analyzed using independent t-test and Repeated Measures ANOVA.

     The results found that there were no significant differences of pain scores and satisfaction scores between control and experiential groups (P>.05). However, parents in experimental group reported satisfactions for each subscale as high to highest level. Furthermore, parents in experimental group used several methods to relieve pain in their child more than those in control group. The findings of this study indicate that parental involvement is effective in postoperative pain management, and can be used among pediatric patients undergoing surgery.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย